วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การประยุกต์ใช้งาน GIS

การประยุกต์ใช้ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS
ในงานด้านการชลประทาน
      การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร GIS ในงานด้านชลประทาน ตามประเด็นยุทธศาสตร์หลักของกรมชลประทานที่การบริหารจัดการน้ำมีส่วนเกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจหลักอันสำคัญ ได้แก่ การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตรอย่างพอเพียง การป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ และการพัฒนาบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการปัจจุบันกรมชลประทานได้นำเอานวัตกรรมทางเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ และมีบทบาทในการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์หลักดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้านภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถรวบรวม จัดเก็บ จัดการ วิเคราะห์และตีความข้อมูลข่าวสารเชิงพื้นที่ นั่นคือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ระบบการกำหนดตำแหน่งบนโลก(Global Positioning Systems: GPS) การรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing: RS) การสำรวจด้วยภาพถ่าย(Photogrammetry) และเทคโนโลยีการทำแผนที่ (Mapping Technologies) มาใช้ในงานชลประทานส่วนต่างๆ ได้แก่ งานด้านการบริหารโครงการ เช่น วางแผนการชลประทาน โดยเฉพาะการให้ข้อมูลเกี่ยวกับคลองชลประทาน แม่น้ำ ลำคลอง หนองน้ำ อ่างเก็บน้ำและเขื่อน วางแผนพัฒนาและจัดการทรัพยากรน้ำในแต่ละลุ่มน้ำ ศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำ เพื่อการพิจารณาโครงการชลประทานเบื้องต้น
       สำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำสำหรับเกษตรกรรมและรองรับการใช้น้ำในการขยายตัวของกลุ่มผู้ใช้น้ำในชุมชน งานด้านสำรวจและธรณีวิทยา เช่น จัดทำแผนที่ประเภทต่างๆสำหรับศึกษาความเหมาะสมของงานออกแบบโครงการชลประทาน วางแผนการสร้างอ่างเก็บน้ำ เขื่อน กำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ ใช้ประกอบการพิจารณาการจ่ายค่าชดเชย การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน งานด้านสารสนเทศ เช่น จัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เผยแพร่การใช้งานข้อมูล และงานด้านอุทกวิทยาและบริหารน้ำ สามารถติดตามสถานการณ์น้ำฝน น้ำท่า น้ำในอ่างเก็บน้ำและปริมาณการใช้น้ำ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนใช้ประเมินหาขอบเขตอุทกภัย-รวมทั้งการเข้าถึงพื้นที่ จากเส้นทางการคมนาคม เพื่อการวางแผนป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น

 http://www.rid-1.com/gis_rid1/applygis.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น