วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อุตุฯ ประกาศเตือนภัย 'พายุแกมี' ฉบับที่ 22

ภาพจาก innnews
ภาพจาก innnews

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ เตือนภัย "พายุแกมี (GAEMI)" ฉบับที่ 22
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือนภัย "พายุแกมี (GAEMI)" ฉบับที่ 22 เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (6 ต.ค. 55) พายุโซนร้อนแกมี (GAEMI) บริเวณใกล้ชายฝั่งเมืองกวีนอน ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 13.4 องศาเหนือ และลองจิจูด 109.6 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 80 ก.ม./ช.ม. พายุกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 25 ก.ม./ช.ม. คาดว่า พายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งในเย็นนี้ (6 ต.ค. 55) ต่อจากนั้นจะเคลื่อนผ่านประเทศลาวตอนล่าง กัมพูชา และจะเข้าสู่ประเทศไทย บริเวณ จ.สระแก้ว ในระยะต่อไป พายุนี้จะเริ่มมีผลกระทบต่อประเทศไทย โดยมีฝนตกหนาแน่นเพิ่มมากขึ้นกับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ดังนี้
ในช่วงวันที่ 6-7 ต.ค. 55 ผลกระทบโดยตรงบริเวณ จ.อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา สระแก้ว ปราจีนบุรี และ นครนายก ผลกระทบโดยอ้อม ที่ จ.เลย ชัยภูมิ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และ ตราด
ในช่วงวันที่ 7-8 ต.ค. 55 ผลกระทบโดยตรงบริเวณ จ.สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา เพชรบูรณ์ ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นครปฐม พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร สมุทรสงคราม กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ผลกระทบโดยอ้อม ที่ จ.กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และ พังงา
ในช่วงวันที่ 8-9 ต.ค. 55 มีผลกระทบบริเวณ จ.อุทัยธานี นครสวรรค์ กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ชุมพร ระนอง และ พังงา
สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง ในช่วงวันที่ 7-9 ต.ค. 55 ไว้ด้วย

ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 16.30 น.

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กว๊านพะเยา

กว๊านพะเยา


อยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ และ อันดับ 3 ของประเทศไทย (รองจาก หนองหาน และ บึงบอระเพ็ด) [1] คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากหลัง เกิดจากน้ำที่ไหลมาจากห้วยต่างๆ 18 สาย มีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 29.40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพันธ์ปลาน้ำจืดกว่า 48 ชนิด มีเนื้อที่ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีส่วน ทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่สวยงามประทับใจผู้พบเห็น จนอาจจะกล่าวได้ว่าหัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่กว๊านพะเยานี่เอง
ริมกว๊านพะเยาเป็นร้านอาหารและสวนสาธารณะให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ กว๊านพะเยาในอดีตแต่เดิมเคยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีสายน้ำอิงไหลพาดผ่านคดเคี้ยวทอดเป็นแนวยาวไปตลอด จากทิศเหนือจรดขอบกว๊านฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประกอบกับมีหนองน้ำน้อยใหญ่หลายแห่งและร่องน้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากขุนเขาดอยหลวงแล้วเชื่อมติดต่อถึงกัน ทำให้พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำแห่งนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งนักและมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่เป็นชุมชนนานนับตั้งแต่โบราณ
บริเวณกลางกว๊านพะเยา มีการพบซากประวัติศาสตร์เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช มีชื่อว่า "วัดติโลกอาราม" ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา จะมีการเวียนเทียนกลางน้ำรอบวัด เป็นแห่งเดียวในโลก

สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในโลก

สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในโลก

The Grand Canyon, Arizona, U.S.A
แกรนด์ แคนยอน มีความลึก 5,000 ฟุต ยาว 277 ไมล์ และได้รับการสันนิษฐานว่าน่าจะมีการแกะสลักจากพื้นโลก โดยการกัดเซาะของกระแสน้ำจากแม่น้ำโคโลราโด รัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงประมาณหกล้านปีมาแล้ว
สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในโลก : Mount Fuji, Japan
สถานที่ที่สวยที่สุดในโลก
ภูเขาไฟฟูจิ เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น โดยมีความสูงถึง 12,388 ฟุต เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีพระอาทิตย์ขึ้นสวยงามจับตา ภูเขาไฟฟูจิเป็นภูเขาไฟที่สงบ หลังจากการประทุครั้งสุดท้ายเมื่อปี ค.ศ. 1708
สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในโลก : Hanging Lake, Colorado, U.S.A.
ทะเลสาบ Hanging ในแถบโคโลราโด สหรัฐอเมริกา เป็นธารน้ำตกที่มีทะเลสาบขนาดเล็กอันสวยงาม น้ำส่องประกายสีเทอร์ควอยซ์ เนื่องจากมีแร่หินอ่อนปะปนอยู่ในน้ำ และเป็นหนึ่งในไม่กี่สถานที่ ที่ดอกโคลัมไบน์เหลืองสามารถเจริญเติบโตได้
สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในโลก : Machu Picchu, Peru
มาชู ปิกชู แห่ง เปรู ถูกค้นพบอีกครั้งใน ปี ค.ศ. 1911 ซากอารยธรรมโบราณแห่งนี้อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 7,970 ฟุต เป็นศูนย์กลางความสำคัญทางโบราณคดีของอเมริกาใต้ และได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในโลก : St Lucia, West Indies
ถ้ามองในแง่ของปลายทางสุดโรแมนติก St Lucia แห่ง อินเดียตะวันตก ต้องติด 1 ใน 3 อันดับต้นๆ ของโลก นอกจากบรรยากาศที่สวยงามแล้ว ที่นี่ยังมี รีสอร์ท Ladera ที่พักชื่อดัง ที่ให้บริการห้องพักสุดหวือหวา ด้วยผนังเพียง 3 ด้าน อีกหนึ่งด้านที่เหลือเปิดโล่ง พร้อมสระว่ายน้ำไร้ขอบ เพื่อชมทิวทัศน์มหาสมุทรและพระอาทิตย์ตก ได้อย่างเต็มตา
สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในโลก : The Himalayas, Asia
เทือกเขาหิมาลัย เปรียบได้กับสถานที่พบรักของผืนดินและแผ่นฟ้า ยอดเขาสูงอย่าง เอเวอเรสต์ และ เคทู ก็ตั้งอยู่
สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในโลก : The Sahara Desert, Northern Africa
ทะเลทรายซาฮารา เป็นทะเลทรายในทวีปแอฟริกาที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก มีเนื้อที่มากกว่า 9,000,000 ตารางกิโลเมตร เทียบได้กับขนาดของประเทศสหรัฐอเมริกา
สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในโลก : Milford Sound, New Zealand
ยอดผาสูงกว่า 4,000 ฟุต ตระหง่านเหนือลำน้ำลึก ธรรมชาติโอบล้อมด้วยบรรยากาศน้ำตกไหลหลากท่ามกลางป่าดิบชื้น Milford sound หนึ่งในจุดหมายปลายทางอันแสนวิเศษ ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศนิวซีแลนด์
สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในโลก : Hawaii Volcanoes National Park, Hawaii, U.S.A.
10 อันดับสถานที่ที่สวยที่สุดในโลก
อุทยานแห่งชาติภูเขาไฟฮาวาย ตั้งอยู่ที่ หมู่เกาะฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ห่างจากชายฝั่งสหรัฐอเมริกาประมาณ 3,700 กม. ฮาวาย ถือว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความเป็นเอกเทศ พืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ที่นี่ล้วนมีวิวัฒนาการมากว่า 70 ล้านปี และเกือบทั้งหมดนั้นเป็นพันธุ์ที่มีที่นี่เดียว
สถานที่ท่องเที่ยวที่สวยที่สุดในโลก : The Iguazu Waterfalls, Argentina-Brazil Border, S. America
Iguazu หนึ่งในน้ำตกสวยมหัศจรรย์ ที่ยูเนสโกยกให้เป็นหนึ่งในมรดกโลก มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งเขตแดนประเทศบราซิลและอาร์เจนตินา ประกอบด้วยน้ำตกน้อยใหญ่กว่า 270 แห่ง แต่ละแห่งมีความยาวมากกว่า 1 ไมล์ และส่วนใหญ่มีความสูงอยู่ที่ 200 ฟุต อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
ที่มา : www.elephantjournal.com เรียบเรียง : travel.mthai.com

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

เดดซี

 ทะเลสาบเดดซี…ทะเลที่ไม่มีชีวิต

สิ่งมหัศจรรย์ของโลกเรามีอยู่มากมายหลายชนิดบ้างก็มีความงดงามอย่างเหลือเชื่ออย่างทัชมาอาล บ้างใหญ่มโหฬารดูอลังการยิ่งใหญ่เฉกเช่นปิรามิดในอียิปต์หรือกำแพงเมืองจีน แต่หากพูดถึงทะเลสาบที่แปลกที่สุดแล้วเชื่อแน่ว่าหลายๆคนต้องนึกถึงทะเลสาบเดดซี ทะเลสาบเดดซีเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ตั้งอยู่ระหว่างอาณาเขตประเทศจอร์แดนและอิสราเอลในปัจจุบัน ทะเลสาบแห่งนี้เกิดขึ้นมานานมากแล้ว แต่สิ่งที่ดูเด่นและกลายเป็นสัญลักษณ์ของมันคือความเค็มที่มากกว่าทะเลอื่นหลายเท่านัก เค็มจนกระทั่งจะหาสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยอยู่ในทะเลสาบแห่งนี้ได้ยากเต็มที ไม่ต้องพูดถึงสัตว์ประเภทกุ้งหอยปูปลาที่เป็นของคู่กันกับแหล่งน้ำตามธรรมชาติ แต่สิ่งมีชีวิตที่พอจะอยู่อาศัยในทะเลสาบแห่งนี้ได้ก็เห็นจะมีแค่พวกเชื้อแบคทีเรียเล็กๆ ที่เล็กจนเรามองไม่เห็นด้วยสายตามนุษย์จนทำให้เราคิดเอาว่ามันเป็นทะเลที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดสามารถดำรงชีพอยู่ได้ในความเค็มที่เกินมาตรฐานเช่นนั้น
          เดดซีถูกจัดว่าเป็นทะเลสาบเพราะรอบอาณาบริเวณมีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่ไม่มีทางไหลออกไปสู่แหล่งน้ำอื่นซึ่งก็เหมือนกับลักษณะของทะเลสาบทั่วๆไป ทะเลสาบมีได้ทั้งทะเลสาบน้ำเค็มและทะเลสาบน้ำจืด และเดดซีก็คือทะเลสาบน้ำเค็มที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกก็ว่าได้

             
                                    ทะเลสาบเดดซี
                        ภาพจาก http://www.atlastours.net

          ชื่อของทะเลสาบเดดซี นี้มีปรากฏอยู่ในหลายภาษา  เช่น Dead Sea ในภาษาอังกฤษ ส่วนชื่อในภาษาอาหรับรียกว่า อัลบะฮฺรุ อัลมัยยิต ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับคำในภาษาอังกฤษคือทะเลแห่งความตาย ส่วนในภาษาฮิบรูเรียกทะเลสาบแห่งนี้ว่า ยัม ฮาเมลาห์ มีความหมายว่าทะเลเกลือ ในประเทศไทย ชื่อของทะเลาสาบเดดซี ปรากฎขึ้นในความรับรู้ของคนไทยในนามทะเลมรณะ เมื่อมีการเผยแพร่ศาสนาของคริสตจักรได้แผ่เข้ามาในเมืองไทยและได้มีการบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทยครั้งแรกว่า ทะเลมรณะ มีปรากฏถ้อยความอยู่ใน พระคัมภีร์ ไบเบิลฉบับภาษาไทย

          ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของทะเลสาบเดดซีเป็นทะเลสาบน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ใน ในระหว่างเขตแดนของจอร์แดนและอิสราเอล  ทะเลสาบเดดซีมีความยาวสูงสุดประมาณ 67 กิโลเมตร กว้างสูงสุดประมาณ 18 กิโลเมตร ครอบคุลมพื้นที่ราว 810 ตารางกิโลเมตรโดยมีความลึกเฉลี่ยที่ 120 เมตร และมีจุดที่ลึกที่สุดอยู่ที่ 330 เมตร ในขณะที่พื้นที่ตั้งของทะเลสาบเดดซีก็ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 408 เมตร ดังนั้นหากวัดจากพื้นที่ลึกที่สุดของทะเลสาบแห่งนี้ก็จะอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลราว 800 เมตรเลยทีเดียว และถือเป็นจุดที่ต่ำสุดของโลกเราเลยก็ว่าได้ ความเค็มของทะเลเดดซีในส่วนที่อยู่ลึกที่สุดมีมากถึง30 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่ความเค็มของทะเลทั่วๆไปอย่างเช่นอ่าวไทยมีความเค็มเพียงแค่ 3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทะเลสาบเดดซีถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนโดยมีแหลมอัลลิซานกั้นกลาง ทะเลสาบทางตอนเหนือกินพื้นที่ราว 3 ใน 4 ซ้ำยังทั้งลึกและเค็มกว่า

          มีตำนานเล่าขานกันมาว่าในยุคบรรพกาล ประชาชนชาวยิวที่อาศัยอยู่ในนครโบราณอันมีนามว่า นครโซโดมและนครโกเมอร์ราห์อันเป็นนครโบราณที่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเดดซีในสมัยนั้นผู้คนแห่งนครทั้งสองมีความประพฤติชั่วช้า พระเจ้าทรงพิโรธและได้ดลบันดาลให้มีไฟบรรลัยกัลป์เผาผลาญล้างนครทั้งสองเสีย ในที่สุดนครโบราณทั้งสองก็ได้จมหายลงภายใต้ผืนน้ำของทะเลเดดซี นั้นเป็นตำนานความเป็นมาที่มีปรากฏอยู่ในในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลภาคพันธสัญญาเก่า อันเป็นเอกสารสำคัญของศาสนาคริสต์

          ความเป็นมาของดินแดนแถบนี้รวมทั้งทะเลสาบเดดซีเริ่มปรากฏความกระจ่างชัดมากขึ้นในปีค.ศ.1947(พ.ศ. 2490) เมื่อนักเดินทางเร่ร่อนชาวเบดูอินได้ค้นพบเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์โดยบังเอิญ เอกสารดังกล่าวถูกขานนามว่า “ม้วนเอกสารเดดซี” ซึ่งม้วนเอกสารเดดซีได้ปรากฏข้อความที่บอกความเป็นมาของภูมิภาคแถบนี้ไว้ มีการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆไว้มากมายเช่นเรื่องราวของอาณาจักรปาเลสไตน์ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนคริสต์ศาสนาจะถูกสถาปนาขึ้นหรือก่อนพระเยซูประสูติ ราว 400 ปีและดำรงอยู่จนถึงค.ศ. 135 ก่อนที่จะล่มสลายไป   หรือเรื่องราวของกษัตริย์แฮรอด แห่งยูดาน์ที่ได้สร้างป้อมปราการมาดาซาขึ้นทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบเดดซี เป็นต้น ข้อความต่างๆที่มีปรากฏในม้วนเอกสารเดดซีได้มีการบันทึกไว้เป็นภาษาต่างๆมีทั้ง ภาษา ฮีบรู อาระบิก และภาษากรีก  ในปัจจุบันม้วนเอกสารดังกล่าวถือว่าเป็นหลักฐานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ซึ่งได้เก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์ อัมมาน ประเทศจอร์แดน

                       
                                                             ม้วนเอกสารเดดซี
                                                ภาพจาก www.burningcross.net

          นั้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของทะเลสาบแห่งนี้ในปัจจุบัน ทะเลสาบเดดซี ตั้งอยู่ในพื้นที่ทะเลทรายสภาพภูมิอากาศในบริเวณนั้นจะมีลักษณะหนาวจัดในตอนกลางคืนและร้อนจัดในตอนกลางวันโดยในบางปีทะเลสาบเดดซีจะมีอุณภูมิสูงถึง 51 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว  บริเวณดังกล่าวมีปริมาณน้ำฝนตกลงในพื้นที่เพียงเล็กน้อยในแต่ละปีโดยวัดได้เพียงแค่ราวๆ 65 มิลลิเมตรต่อปี   จากอากาศที่ร้อนจัดและมีฝนน้อยนี้เองที่ทำให้ระดับน้ำจากทะเลสาบเดดซีค่อยๆระเหิดระเหยแห้งขอดลงทุกปี  ทะเลเดดซี ได้รับน้ำจากต้นน้ำ เพียงแหล่งเดียวเท่านั้นคือแม่น้ำในประเทศจอร์แดน  เมื่อการเกิดการระเหยอย่างมากของทะเลสาบเดดซีส่งผลให้ความเข้มข้นในทะเลสาบดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากระเหยจะทำให้ทะเลสาบเดดซีเข้มข้นมากขึ้นแล้ว น้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำจอร์แดนก็ยังคงอุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆเช่น โซเดียมและแมกนี้เซียมเมื่อไหลลงมาทำปฎิกริยากับน้ำพุร้อนในทะเลสาบเดดซีจึงเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อความเค็มของทะเลแห่งนี้ 

          น้ำในทะเลสาบเดดซีเป็นมีความเค็มมากกว่าน้ำในแหล่งน้ำปรกติมากมายหลายเท่า โดยปรกติความเค็มของน้ำทะเลจะเกิดขึ้นเพราะมีการละลายของเกลือหลายชนิดโดยเฉพาะ โซเดียมคลอไรด์ที่ มีสูตรทางเคมีว่า NaCl ในน้ำทะเลโดยเฉลี่ยแล้วมีเกลือร้อยละ 3.5 หรือน้ำทะเล 1 ลิตรจะมีเกลือละลายอยู่ประมาณ 35 กรัม แต่ในพื้นที่ของทะเลสาบเดดซีมีปริมาณเกลือมากถึง ปริมาณเกลือรวมกันมากถึง 10,523,000,000 ตัน

          และด้วยความหนาแน่นของน้ำในทะเลสาบเดดซีนี้เองที่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงสามารถลอยตัวอยู่ในทะเลสาบดังกล่าวได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ที่ว่า สิ่งซึ่งมีความหนาแน่นน้อยกว่าก็จะสามารถลอยได้บนน้ำที่มีความหนาแน่นมากกว่าไม่ว่าสิ่งที่ลอยอยู่นั้นจะมีความใหญ่โตมโหฬารสักเพียงใด ความหนาแน่นที่แตกต่างกันของทะเลสาบเดดซีนี้หากเรานำน้ำ 1 ลิตรมาชั่งได้หนักเพียง 1 กิโลกรัม แต่น้ำหนักจากการชั่งน้ำจากทะเลเดดซี 1 ลิตร จะมีมากกว่าหลายเท่านัก  และด้วยความเข้มข้นของเกลือจำนวนมากนี้เองจึงทำให้ไม่มีสิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้เลย จนกลายเป็นจุดเด่นของทะเลสาบแห่งนี้ที่ทั้งเค็มและไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศยอยู่  เคยมีข่าวเกี่ยวกับคุณพ่อขี้ลืมที่ลืมลูกวับ 8 ขวบให้ลอยคออยู่ในทะเลเดดซีนานถึง 6 ชั่วโมง แต่ด้วย ความดีของทะเลสาบเดดซีจึงทำให้เด็กน้อยสามารถลอยคออยู่ได้และได้รับการช่วยเหลือในที่สุด

          บริเวณอันเป็นที่ตั้งของทะเลสาบเดดซีมีการผันผวนของสภาพภูมิอากาศอย่างมากแม้ในฤดูหนาวจะมีฝนตกชุกแต่ทว่าในฤดูร้อนที่มีอุณหภูมิสูงก็ทำให้น้ำจากทะเลสาบเดดซีระเหยออกไปอย่างรวดเร็วด้วยความที่ทะเลสาบแห่งนี้มีการระเหยอยู่ตลอดเวลาและการได้รับน้ำจากแหล่งเดียวซ้ำปริมาณน้ำฝนที่ตกลงในบริเวณนั้นก็มีปริมาณน้อยมากทำให้น่าหวั่นว่าสักวันมันจะแห้งขอดลงเหลือแต่บ่อเกลือขนาดมหึมา ทั้งนี้มีการคาดการณ์กันว่าทะเลเดดซีอาจจะเหือดแห้งลงภายในเวลาประมาณ 50 ปี โดยระดับน้ำได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเนื้อที่ 1 ใน 3 ของทะเลสาบได้แห้งขอดลงแล้ว และทางรัฐบาลของจอร์แดนได้มีแนวคิดที่จะขุดคลองเชื่อมต่อระหว่างทะเลสาบเดดซีกับทะเลแดงเพื่อเพิ่มระดับน้ำให้กับทะเลสาบเดดซีไม่ให้แห้งขอดลง โดยหากมีการขุดคลองดังกล่าวเพื่อเชื่อมต่อขึ้นมาจริงๆ ก็จะมีความยาวถึง 200 กิโลเมตรและอาจจะต้องใช้งบประมาณสูงถึง 1,000 ล้านดอลลาร์เพื่อต้องการรักษาทะเลสาบแห่งนี้ไว้ เพราะถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าเย้ายวนใจไม่ใช่น้อย

                                
                                        ทะเลสาบเดดซีที่ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน
                                          ภาพจาก http://wikimedia.org

          ทะเลาสาบแห่งนี้ยังขึ้นชื่อในเรื่องการรักษาโรคและการบำรุงรักษาผิวพรรณน้ำในทะเลเดดซีเป็นแหล่งรวมของแร่ธาตุต่างๆ เพราะการที่ไม่มีพื้นที่เชื่อต่อกับแม่น้ำสายอื่นให้ไหลออกได้ทำให้แร่ธาตุต่างๆมารวมกันอยู่ในทะเลสาบแห่งนี้เป็นจำนวนมากและทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดจากทะเลสาบเดดซี อุดมไปด้วยแร่ธาตุที่สมบูรณ์และสามารถช่วยเรื่องสุขภาพได้ โดยเฉพาะเรื่องผิวพรรณ ทั้งโคลนจากเดดซี เกลือจากเดดซีที่มีความเค็มมากกว่าเกลือที่อื่นหลายเท่าตัวหนักก็มักจะนำมาใช้ในทางการประทินผิวและรักษาผิวพรรณ  ทั้งนี้สามารถช่วยรักษาได้ทั้งรังแค โรคผิวหนังรวมทั้งพิษทั้งแมลงกัดต่อย ช่วยให้ผิวนุ่มขึ้น ดูแล้วคล้ายกับว่าสถานที่แห่งนี้ กลายเป็นแหล่งรวมแร่ธาตุครอบจักรวาล

          แม้จะแฝงไปด้วยความน่าพิศวงและน่าหลงไหลแต่กระนั้นทะเลสาบเดดซีก็หาใช่ทะเลที่มีความเค็มมากที่สุดอย่างเราหลายๆคนเข้าใจเพราะยังมีทะเลสาบในเอธิโอเปียที่ชื่อว่า Lake Assal ที่มีความเค็มมากกว่าเดดซี โดยทะเลสาบ Lake Assalมีเกลือเป็นส่วนผสมอยู่มากถึง 40 เปอร์เซ็นต์แต่เหตุที่ไม่โด่งดังเท่าทะเลสาบเดดซีเพราะที่ตั้งอยู่ในปล่องภูเขาไฟและห่างไกลเกินไปสำหรับการท่องเที่ยว

          เดดซีอาจจะเป็นอีกหนึ่งสิ่งมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้น ไม่บ่อยนักที่เราจะหาทะเลสาบที่มีความงดงาม แต่ไม่มีสิ่งมีชีวิตที่จะสามารถอาศัยอยู่ได้คล้ายดั่งดินแดนต้องห้าม ซ้ำยังไม่มีวันจม โลกเรายังเต็มไปด้วยความสวยงามและมีอีกหลายเรื่องราวแห่งความมหัศจรรย์ที่รอให้มนุษย์ไขความลับที่ดำมืดออกมาด้วยหลักวิทยาศาสตร์

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

เบอร์มิวดา

                

                    สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา (อังกฤษ: Bermuda Triangle) เป็นบริเวณสมมติในมหาสมุทรแอตแลนติก มีเนื้อที่ประมาณ 1.2 ล้าน ตร.กม. อยู่ระหว่างจุด 3 จุดที่ไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ได้แก่ เปอร์โตริโก ปลายสุดของมลรัฐฟลอริดาในสหรัฐอเมริกา และเกาะเบอร์มิวดาซึ่งเป็นดินแดนในปกครองของสหราชอาณาจักร สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเป็นที่รู้จักทางสื่อมวลชนอย่างแพร่หลาย หลังจากที่ค้นพบว่าคุณสมบัติทางฟิสิกส์ต่างๆ ไม่เป็นไปตามกฎพื้นฐาน
                   


                    สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา เริ่มเป็นที่รู้จักในปี พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) หลังจากที่มีเรือขนาดใหญ่หายสาบสูญภายในบริเวณสามเหลี่ยม รวมถึงเครื่องบินและเรือขนาดเล็กอื่นๆ จนได้รับขนานนามว่า "สามเหลี่ยมปีศาจ" (The Devil's Triangle)
                   

                     ศัพท์คำว่า "สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา" หรือ "Bermuda Triangle" นี้ มีที่มาจากบทความนิตยสารอาร์กอสซี่ เจ้าของบทความชื่อ Vincent H. Gaddis ได้นำเสนอเรื่องราวของเรือและเครื่องบินที่สาบสูญไปอย่างลึกลับโดยปราศจากคำ อธิบายในนิตยสารดังกล่าว เมื่อปี ค.ศ. 1964 แต่ แกดดิส ไม่ได้เป็นคนแรกที่สังเกตเรื่องนี้ ก่อนหน้าในปี ค.ศ. 1952 นาย George X. Sands เสนอเรื่องทำนองนี้เช่นกันในนิตยสาร Fate เนื้อหากล่าวถึงปริมาณของเรือและเครื่องบินที่สาบสูญไปอย่างผิดปกติในบริเวณ น่านน้ำดังกล่าว ซึ่งยอดสูญหายนี้มันมากเกินไปกว่าที่จะสันนิษฐานว่าเป็นอุบัติเหตุ
                    

                    ถัดมาในปี ค.ศ. 1969 นายวอลเลซ สเปนเซอร์ ได้เขียนหนังสือว่าด้วยสามเหลี่ยมปริศนานี้โดยเฉพาะออกจำหน่ายในชื่อว่า "Limbo of the Lost" ถัดจากนั้น ก็มีหนังสือออกจำหน่ายตามมาอีกมากมายเกี่ยวกับความลึกลับของสามเหลี่ยม เบอร์มิวดา ซึ่งก็มียอดจำหน่ายดีแทบทุกเล่ม ที่มีชื่อเสียงเป็นพิเศษคือบทความที่มีชื่อว่า "The Devil's Triangle" ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1974 ซึ่งเป็นเนื้อหาสำหรับเป็นคนที่ชื่นชอบความลึกลับเกี่ยวกับสามเหลี่ยเบอร์มิ วดาเป็นอันมาก เป็นที่น่าสังเกตคือ หนังสือแทบทุกเล่มมุ่งประเด็นไปยังมุมมองที่ว่า เบื้องหลังของการสูญหายนี้ มาจากเทคโนโลยีของสิ่งทรงภูมิปัญญามากกว่าประเด็นอื่น เช่นมาจากมนุษย์ต่างดาว หรือมนุษย์ที่อาศัยอยู่ใต้มหาสมุทรบริเวณนั้น ต่างก็หาหลักฐานและทฤษฎีมาถกเถียงกันและบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดามีอาณา บริเวณที่กว้างมากจาก ฟลอริด้า-เปอร์โต ริโก-เกาะเบอร์มิวดา กินพื้นที่ประมาณ ห้าแสนตารางไมล์ เพราะฉะนั้นการจะค้นหาอะไรๆจากสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็มีองค์กรของรัฐ เอกชน ต่างให้ความสนใจในการสำรวจ โดยหวังว่าจะเจอหลักฐานอะไรก็ตามที่นำมาใช้ไขปริศนาของดินแดนบริเวณนี้ได้ . และมีนักบินขี่เครื่องบินสามลำแล้วหายไปในสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ล่าสุดมีนักบินที่ขี่ผ่านบริเวณนั้นเห็นยานUFOและได้ถ่ายภาพเอาไว้ได้
                    

                  มีนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ นักสมุทรวิทยา และอีกหลายอาชีพ ให้ความเห็นและทฤษฎีเกี่ยวกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา มาดังนี้
  1. ทฤษฎีที่ว่า อาจจะเป็นไปได้ที่บริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดานั้น ตั้งอยู่ในจุดสมดุลของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า กับพลังของสนามแห่งแรงโน้มถ่วงพอดี ซึ่งทำให้เกิดช่องว่างของอีกมิติหนึ่งในห้วงเวลาอวกาศ และเมื่อเรือหรือเครื่องบินแล่นเข้าสู่ช่องว่างแห่งนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางมิติหายลับไปทันที แต่เนื่องจากว่าวิทยาการทางเทคนิคของเราในปัจจุบันนี้ยังไม่มีความรู้พอที่ จะแก้ไขสถานการณ์อันนี้ได้ การหายสาบสูญของพวกเรา ก็เป็นไปในทำนอง เดินทางเดียว เท่านั้น คือเมื่อมิติถูกเปลี่ยนไปแล้ว ก็ไม่อาจจะทำให้กลับคืนสู่มิติเดิมได้ ส่วนสิ่งมีชีวิตปัญญาสูงจากนอกโลกที่มาจากจานบิน คงจะทราบและเข้าใจในกฎเกณฑ์อันนี้เป็นอย่างดีจึงได้ใช้ช่องว่างที่เกิดจาก สมดุลอันนี้ เป็น ประตู ทางเข้าออกในการเปลี่ยนแปลงทางมิติเพื่อเข้าสู่โลก ด้วยเหตุจึงมีผู้พบเห็นจานบินบ่อยๆ (สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเป็นสถานที่ซึ่งมีผู้พบเห็นจานบินบ่อยที่สุดและมากที่ สุดในโลก) และมันจะหายตัวไปแบบฉับพลัน ซึ่งตอนนั้นเองที่จานบินเปิดประตูมิติ เรือหรือเครื่องบินผ่านมาบริเวณนั้นพอดี ก็เลยแล่นเข้าสู่ประตูมิติ
  2. ทฤษฎีที่ว่า บริเวณใต้สามเหลี่ยมเบอร์มิวดานั้นเป็นจุดที่ อาณาจักรแอตแลนติสจมลง ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าชาวแอตแลนติสมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต้องมีพลังงานอะไรบางอย่างที่ชาวแอตแลนติสสร้างเอาไว้ ทำให้เรือและเครื่องบินบริเวณนั้นหายสาบสูญแบบไร้ร่องรอย
  3. ทฤษฎีที่ว่า บริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา เป็นเหมือนสถานีที่สิ่งมีชีวิตที่ทรงปัญญากว่ามาสร้างเอาไว้ เพราะหลายต่อหลายครั้งที่มีผู้คนพบเห็นแสงไฟจากใต้น้ำบ้าง จานบินใต้น้ำบ้างและก็มีผู้พบเห็นจานบินโผล่ขึ้นมาจากน้ำ ดำดิ่งลงไปในน้ำ ความเร็ว 150 นอตต่อชั่วโมงเท่ากับเฮลิคอปเตอร์ และในปัจจุบันก็ยังไม่มีเรือดำน้ำให้ทำความเร็วได้ขนาดนั้น บริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเป็นจุดที่พบเห็นจานบินบ่อยและมากที่สุดในโลก เพราะบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเป็นจุดบอดของสนามแม่เหล็กจึงสามารถทำให้ สามารถนำยานลงจอดซึ่งมีไม่กี่แห่งบนโลก
  4. ทฤษฎีที่ว่า มีสิ่งมีชีวิตที่มีภูมิปัญญาอยู่ใต้ท้องมหาสมุทร ตามหลักของชีววิทยา สิ่งมีชีวิตจะเริ่มต้นมาจากทะเลก่อน และเนื่องมากจากท้องทะเลมีอาณาเขตมากกว่าพื้นดินถึงสองเท่า มนุษย์ใต้มหาสมุทรเหล่านี้จึงมีเนื้อที่สำหรับ การแพร่ขยายพันธุ์มากกว่าเรา และจากเหตุที่พวกนี้ได้เกิดขึ้นก่อนมนุษย์เรา ดังนั้น การพัฒนาทางเทคนิคของพวก เขาก็คงล้ำหน้าไปกว่าเรามากทีเดียว เท่าที่ผ่านมาเป็นเวลานาน มนุษย์ใต้สมุทรเหล่านี้จะไม่ติดต่อเกี่ยวข้องอันใดกับพวกเรา ถือว่าต่างคนต่างอยู่ แต่จากความก้าวหน้าทางเทคนิคของพวกเราในปัจจุบัน อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อมของพวกเขาได้ พวกนี้จึงเปลี่ยน นโยบายที่ว่าต่างคนต่างอยู่ ออกมาสังเกตความเป็นไปของชาวเรา ที่อยู่บนพื้นโลกอย่างลับๆและเงียบสงบ ซึ่งบางทีบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา อาจเป็นบริเวณที่สะดวกที่สุดที่พวกเขาจะออกมาสำรวจโลกเบื้องบน
  5. ทฤษฎีที่ว่า เป็นจุดที่มีแรงดึงดูดของโลกมากที่สุด เนื่องจากแรงดึงดูดของบริเวณนี้สูงกว่าบริเวณอื่น จะทำให้เครื่องบิน หรือเรือ จมลงทะเล
  6. ทฤษฎีที่ว่า เป็นบริเวณที่สนามแม่เหล็กมีความเข้มข้นสูงที่สุด ซึ่งจะทำให้เครื่องบิน หรือเรือที่ใช้เครื่องยนต์ โดนสนามแม่เหล็กทำให้เครื่องยนต์เสียหาย และจมลงในที่สุด
  7. ทฤษฏีที่ว่า เป็นบริเวณของประตูเวลาที่เกิดขึ้นโดยตัวเรายังคงอยู่ ที่เดิมในขณะที่กาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป[1] หรือที่เรารู้จักมักคุ้นกันในนามของ ไทม์แมชชีน นั่นเอง ซึ่งหลังจากที่ประตูเวลาปิดตัวลง เมื่อนั้นเวลาก็จะคืนกลับสู่ความเป็นปัจจุบัน เราจึงไม่สามารถหาสถานที่แห่งนั้นได้พบ
เครดิต  :    http://th.wikipedia.org/wiki/สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

สถานีอวกาศเมียร์

สถานีอวกาศเมียร์  Mir Space Station
 
     
   มารู้จักกับเมียร์
      สถานีอวกาศเมียร์ เป็นโครงการอวกาศด้านวิทยาศาสตร์ของรัสเซีย รุ่นที่สาม นับจากโครงการ Salyut Station เมื่อปี 1970 และ 1980 ซึ่งประสพผลสำเร็จทำให้ MIR เติบโตขึ้นมา
      ชื่อ MIR  มีความหมายว่า สันติ (Peace) โดยโครงการสถานีอวกาศเมียร์ เริ่มขึ้นสู่วงโคจรครั้งแรกเมื่อปีพศ.2529 (คศ.1986)  หลังจากที่ในอวกาศว่างเว้น SkyLab ไม่สถานีอวกาศโคจรอยู่เลยนาน 7 ปี  ชิ้นส่วนสถานีชิ้นแรก ที่เรียกว่า Core Module ถูกส่งเข้าสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พศ. 2529  (คศ.1986)  อยู่ในวงโคจรที่ระดับความสูง 248-261 กิโลเมตร (อยู่ต่ำกว่า สถานี ISS )  โดยโคจรรอบโลกด้วยความเร็ว ประมาณ 28,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือประมาณ 16 รอบต่อ 1 วัน  ทำมุมเอียงกับเส้นอิคลิปติด 51.6 องศา  และหลังจากนั้น ชิ้นส่วนอื่นๆของสถานีก็ถูกส่งขึ้นไปเชื่อมต่อเรื่อยๆ มีมูลค่าทั้งสิ้น 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ 

 แสดงแนวโคจรของสถานีอวกาศเมียร์



  ภาพถ่ายเมื่อสถานีอวกาศเมียร์โคจรผ่านน่านฟ้า 
   ประวัติศาสตร์อันยาวนาน
     นับจากวันที่ชิ้นส่วนแรกของเมียร์ถูกปล่อยขึ้นสู่วงโคจรเมื่อปี คศ.1986 จนถึงปัจจุบัน(คศ.2001) เมียร์มีอายุเกือบ 15 ปีแล้ว โคจรรอบโลกมาแล้ว 83,500 รอบ ประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมียร์ ที่ให้ประโยชน์แก่วงการวิทยาศาสตร์ อย่างมากมาย มีมนุษย์ได้ขึ้นไปอยู่แล้ว 104 คน จากอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และประเทศอื่นๆ  และที่เป็นของรัสเซียเอง 42 คน   มีการทำสถิติให้มนุษย์ อยู่ในอวกาศได้นานที่สุด 747 วัน โดยนักบินอวกาศ Sergei Avdeyev  ระหว่างปีคศ.1997-1999  และการเดินในอวกาศของมนุษย์อวกาศ 78 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 352 ชั่วโมง โดยสถิติเป็นของ  Anatoly Solovyov  เดินในอวกาศ 16 ครั้ง รวมเวลา 77 ชั่วโมง  
                 
              Valery Polyakov              Norman Thagard

     สรุปเหตุการณ์ช่วง 15 ปีที่ผ่านมา 
1986 สหภาพโซเวียด ส่งโมดูลของสถานีเมียร์ส่วนแรก Core Module  เข้าสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1986  และลูกเรือกลุ่มแรกที่ขึ้นบนสถานี เมื่อวันที่ 13 มีนาคม
1987  โมดูลส่วนที่สอง Kvant-1 ก็ถูกส่งขึ้นไป เชื่อมต่อ แต่ประสพปัญหาในการต่อยาน ปรากฏว่า พบเศษขยะอยู่ในส่วนเชื่อมต่อ (Docking Port)
1989  ส่งโมดุล Kvant-2 ขึ้นไปเชื่อมต่อกับสถานี
1990  ส่งโมดูล Kristall  ขึ้นไปเชื่อมต่อกับสถานี
1991 ยานขนส่งสินค้าควบคุมไม่ได้ระหว่างเข้าเชื่อมกับสถานีทำให้เกือบชนกับสถานีอวกาศ และทางรัสเซีย ขาดเงินทุน ประกอบกับการล้มสลายของสหภาพโซเวียต ทำให้ลูกเรือ ต้องอยู่ในอวกาศนานขึ้นกว่าที่กำหนดไว้
1995 นักบินอวกาศชาวรัสเซีย Valery Polyakov เดินทางกลับโลก หลังจากที่ต้องอยู่ในอวกาศนานถึง 438 วัน หรือ 14 เดือน นับเป็นการอยู่ในอวกาศนานที่สุดเป็นครั้งแรก  มีการติดตั้ง Docking Module และ Norman Thagard  เป็นชาวอเมริกันคนแรก ที่ไปเยี่ยมสถานีอวกาศเมียร์
 
กระสวยแอตแลนติส (STS-71) เชื่อมต่อกับสถานีอวกาศเมียร์เป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่อโปรแกรม Shuttle-Mir

1996 มีการติดตั้งโมดูล Priroda สำหรับใช้เป็นโมดูลควบคุมสถานีระยะไกลจากโลก
1997
เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงอย่างต่อเนื่อง กับสถานีอวกาศ โดยครั้งแรก 23 กุมภาพันธ์ ถังผลิต อ๊อกซิเยนในสถานีเกิดติดไฟขึ้น  ทำให้เกือบไฟครอก ลูกเรือในสถานี , วันที่ 25 มิถุนายน ยานสินค้า(Progress) กระแทกกับตัวสถานี ระหว่างการฝึกควบคุมการเชื่อมต่อ ด้วยมือ ทำให้ส่วนห้องทดลองอากาศรั่ว แต่ลูกเรืออุดลอยรั่วไว้ได้ทัน , สองวันต่อมาคอมพิวเตอร์ บนสถานีดับ, เดือนกรกฏาคม ลูกเรือตัดพลังงานบนสถานี ก่อนกำหนดทำให้สถานีต้องลอยคว้างอยู่ในอวกาศ  และอีก 1 เดือนต่อมา เครื่องคอมพิวเตอร์หลักดับ ระหว่างเชื่อมต่อกับยานขนส่งสินค้า ทำให้สถานีต้อง ลอยคว้างในอวกาศควบคุมไม่ได้อีกครั้ง
1999 รัสเซียประกาศจะทิ้งสถานีอวกาศเมียร์ในปี คศ.2000 นอกจากว่าจะมีเงินทุนมาสนับสนุน  และนักบินอวกาศ  Sergei Avdeyev ทำสถิติใหม่อยู่บนสถานีอวกาศนานที่สุดคือ 747 วัน  และเดินทางกลับโลกวันที่ 27 สิงหาคม
         Sergei Avdeyev


2000 MirCorp  ซึ่งนักธุระกิจชาวอเมริกันเป็นเจ้าของ ชื่อ Dennis Tito วางโครงการจะเช่าสถานีอวกาศ เมียร์ และจะจัด space tourist สร้างโมดูลเพื่อ เชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ  และตัวเขาเองก็จะ เดินทางไปอยู่บนเมียร์ด้วย  แต่ทางการ รัสเซียแจ้งว่า MirCorp ไม่ทำตามข้อตกลง จึงประกาศจะทิ้ง สถานีอวกาศเมียร์
 

โครงสร้างของสถานีอวกาศ
    

สถานีอวกาศเมียร์ Core Module ถูกเชื่อมต่อกับโมดูลอื่นๆ อีก 6 โมดูล ได้แก่ Kvant-1,Kvant-2,Spektr,Docking port,Kristall และ Pridora  จนมีลักษณะเป็นรูปตัวที (T) ขนาด 86x96x99 ฟุต  มีน้ำหนักราว 143 ตัน ถ้ามียานสินค้ามาเชื่อมต่ออีกก็จะมีน้ำหนักถึง 154 ตัน 

 



   วาระสุดท้ายของเมียร์
 
      ในปี คศ. 1999 ทางการรัสเซียประกาศจะทำลายสถานีอวกาศเมียร์ทิ้ง โดยให้เหตุผลว่า แบกรับภาระ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานีไม่ไหว อีกทั้งต้องร่วมโครงการสถานีอวกาศนานาชาติด้วย ทำให้ขาดเงินทุน ปรับปรุง และอายุของสถานีก็นานมากทรุดโทรม และเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงบนสถานีอวกาศในปี 1997 ติดต่อกัน
       หัวหน้าองค์การอวกาศรัสเซีย Yuri Koptev  กล่าวว่า "จะไม่เป็นการปลอดภัยหากปล่อยให้เมียร์ยังอยู่ในวงโคจรต่อไป ระบบต่างๆของสถานีก็เริ่มชำรุดแล้ว"  โดยครั้งแรกวางเป้าหมายจะให้สถานีอวกาศตกบริเวณ มหาสมุทรแปซิฟิค ทางตะวันออกของทวีปออสเตเลีย ราววันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2001 แต่ก็มีการเลื่อนกำหนด
       ล่าสุดทางการรัสเซียแจ้งว่าจะให้สถานีอวกาศเมียร์กระทบโลกในวันที่ 20 มีนาคม 2001 นี้แน่นอน โดยจะทำการลดระดับความสูงของสถานีให้เหลือ 210 กิโลเมตร แล้ววันที่ 20 มีนาคม ยาน Progress จะจุดเครื่องยนต์  เพื่อลดระดับของสถานี โดยจะลงต่ำเหนือประเทศรัสเซียและจีน แล้วดิ่งหัวลงสู่ มหาสมุทรแปซิฟิค ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 45 นาทีหลังจากจุดเครื่องยนต์ครั้งสุดท้าย และคาดว่า จะมีชิ้นส่วนเมียร์แตกออกราว 1,500 ชิ้น บางส่วนจะเผาไหม้ไปในชั้นบรรยากาศ คงมีบ้างที่เหลือน้ำหนัก มากสุด 40 ตันจะถึงผิวโลก ซึ่งในงานนี้รัสเซียได้ทำวงเงินประกันไว้ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าหากชิ้นส่วนของเมียร์ ทำความเสียหายกับประชาชน โดยมีบริษัทประกันของรัสเซียเข้าร่วมกันครั้งนี้ 3 บริษัทด้วยกัน



ภาพสุดท้ายของเมียร์
          เมียร์ตกสู่แปซิฟิกเรียบร้อย
       ถึงกาลอวสานเป็นที่เรียบร้อยโรงเรียนรัสเซีย "สถานีอวกาศเมียร์" ตกลงสู่เป้าหมายมหาสมุทร แปซิฟิกเมื่อเวลา 12.59 น.ของวันศุกร์ที่ 23 มี.ค. พศ. 2544 ตามเวลาในประเทศไทย กลายเป็นเศษชิ้นส่วนที่เห็นชัดจากเกาะฟิจิประมาณ 5-6 ชิ้น ในเวลาเพียง 10-15 วินาทีเท่านั้น ส่วนกองเรือประมงที่หาปลา อยู่แถบนั้น ปลอดภัยทุกลำ เช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่นไม่มีเหตุการณ์น่าวิตก

  ภาพการลุกไหม้ของเมียร์ถ่ายไว้ได้บนเกาะฟิจิ

       สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากเมืองโคโรลยอฟ ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 23 มี.ค.ว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุม อวกาศรัสเซีย เปิดเผยว่า สถานีอวกาศเมียร์ ซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง 15 ปี น้ำหนัก 137 ตัน ถือว่าเป็นชิ้นส่วนที่ใหญ่ที่สุด บนอวกาศที่นำกลับคืนสู่โลก ได้ตกลงมา ณ จุดที่กำหนดไว้ตามแผนการทำลายทิ้ง บนผืนน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิก ที่เส้นลองติจูด 150 องศาตะวันตก และ เส้นละติจูด 40 องศาใต้ เหลือเป็นเศษชิ้นส่วนประมาณ 20 ตัน กระจัดกระจายไปทั่วรัศมีความยาว 1,500 กม.ของมหาสมุทรแปซิฟิก ช่วงระหว่างประเทศนิวซีแลนด์กับชิลี
       ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็นและช่างภาพของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่ไปรายงานข่าวบนเกาะฟิจิ รายงานถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า เหมือนกับเป็นการแสดงที่น่าตื่นเต้น เพราะได้เห็นเศษชิ้นส่วนที่เหลือจากการลุกไหม้ขณะที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก เป็นเพียงเศษชิ้นส่วนที่มีกลุ่มควันสีขาวเป็นทางยาว ประมาณ 5-6 ชิ้น ลอยข้ามขอบฟ้า ไปทางมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนใต้ ด้วยความเร็วสูง ใช้เวลาประมาณ 10-15 วินาที จากนั้น ก็จะมีเสียงคล้ายเสียงดังโครม ที่เกิดจากเครื่องบิน เร็วเท่าความเร็วของเสียง ดังขึ้นมา 2 ครั้ง
       แม้ภารกิจครั้งนี้ของรัสเซียจะดูว่า ประสบผลสำเร็จ ตรงที่ไม่เป็นอันตราย แต่อย่างใด ในการนำสถานีอวกาศเมียร์ กลับมาสู่พื้นโลกในสภาพที่ต้องถูกทำลาย ซึ่งทั่วโลกต่างวิตกว่า อาจจะไปตกในพื้นที่ที่มีประชากรอาศัย ทำให้เป็น อันตรายได้ ดังนั้น เที่ยวบินระหว่างประเทศ 5 เที่ยวบิน ที่ต้องบินเส้นทางที่สถานีอวกาศเมียร์ จะตกลงมา จึงต้องยกเลิกเที่ยวบินไปก่อนเพื่อความปลอดภัย แต่กองเรือประมงของ หมู่เกาะอเมริกัน ซามัว ที่หาปลาทูนา ในบริเวณนั้น ก็ไม่มีลำใดได้รับอันตรายแต่อย่างใด
      นายโทนี มาร์ติน รองผู้อำนวยการสำนักงานความปลอดภัยการเดินเรือทางทะเลของนิวซีแลนด์เปิดเผยว่า กองเรือประมง 27 ลำที่หาปลาทูน่าอยู่ในบริเวณที่เศษชิ้นส่วนของสถานีอวกาศเมียร์จะตกลงมานั้น ไม่มีลำใดได้รับความเสียหายแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีรายงานแจ้งสถานการณ์ฉุกเฉิน จากกองเรือที่เดินเรืออยู่ในแถบนั้น จึงเป็นที่เชื่อได้ว่า เศษชิ้นส่วนของสถานีอวกาศตกลงมาสู่มหาสมุทรทั้งหมด โดยไม่มีส่วนใด สร้างความเสียหาย ให้กับสิ่งใดเลย ซึ่งก็ตรงกับที่เจ้าหน้าที่ของออสเตรเลียรายงาน
      ส่วนที่กรุงโตเกียว โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นแถลงว่า สถานีอวกาศเมียร์ลอยผ่านประเทศญี่ปุ่น มุ่งหน้าสู่ มหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อเวลา 12.31 น.ตามเวลาในประเทศไทย ด้วยความสูงจากพื้นโลก 163 กม. ตามเส้นทางที่คำนวณเอาไว้ โดยไม่มีรายงานความผิดปรกติ หรือ เศษชิ้นส่วนของสถานีอวกาศเมียร์ ตกลงมาในดินแดนของประเทศญี่ปุ่นแต่อย่างใด ทั้งที่เมื่อวันก่อน รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีคำเตือนถึงชาวเกาะโอกินาวา ขอให้อยู่แต่ภายในที่พักอาศัยเท่านั้น เพราะอาจจะได้รับอันตรายจากเศษชิ้นส่วนของสถานีอวกาศ
       ด้านนายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ทั่วโลกสนใจเรื่อง สถานีอวกาศเมียร์ ตกลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก เช่นการติดเชื้อโรคจากอวกาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ในทางวิทยาศาสตร์ สามารถคาดการณ์และเตรียมการในเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เรื่องนี้สามารถกระตุ้นให้ทั่วโลกสนใจเรื่องอวกาศ ในส่วนของนักวิทยาศาสตร์ไทย สิ่งที่จะได้ประโยชน์คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งได้มีการตั้งสำนักงาน พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา และจะค่อยๆพัฒนาต่อไป เพราะต้องใช้เงินลงทุน ด้านนี้สูงมาก
       ดร.สุวิทย์ วิบูลย์เศรษฐ์ ผอ.สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กล่าวว่า คงต้องติดตามว่าเทคโนโลยีอวกาศของต่างประเทศทำไปถึงไหน เพื่อที่จะนำมาใช้ประโยชน์ และในระยะยาว จะมีการผลักดันให้มีโครงการที่จะให้นักบินอวกาศ ของไทยร่วมอยู่ในโครงการอวกาศของประเทศต่างๆด้วย เพื่อให้มีส่วนร่วมในการศึกษาและวิจัย ส่วนจะสานต่อโครงการสร้างดาวเทียมขนาดเล็กหรือไม่ ขึ้นอยู่กับนโยบาย และงบประมาณของรัฐบาล แต่นักวิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของไทยส่วนใหญ่ อยากให้เกิดขึ้น เพราะเป็นประโยชน์มาก

http://www.darasart.com/spacestation/mir/main.html

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

เอราทอสเทนีส





เอราทอสเทนีส (กรีก: Ἐρατοσθένης; Eratosthenes) เป็นนักภูมิศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งภูมิศาสตร์” (father of geography) เนื่องจากว่า ระหว่างที่ปราชญ์ท่านอื่นให้ความสนใจต่อการบรรยายทางภูมิศาสตร์อยู่นั้น เอราทอสเทนีส เป็นคนแรกที่ใช้คำว่าภูมิศาสตร์และเรียกตัวเองว่าเป็นนักภูมิศาสตร์ (geographer) และจากการสังเกตพบว่างานทางภูมิศาสตร์ที่ผ่านมาทั้งหลายไม่ได้เกิดจากนักภูมิศาสตร์ที่แท้จริง นอกจากนี้ปราชญ์ผู้ศึกษาปรากฏการณ์เองก็ไม่ได้มีเป้าหมายในการอธิบายในเชิงภูมิศาสตร์ กล่าวกันว่า เขามีแนวทางในการศึกษาโดยมุ่งเน้นว่า โลกเป็นที่อยู่อาศัยของมวลมนุษย์ โดยเป็นคนแรกที่ค้นคิดหาวิธีการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ต่างได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ จากการพิจารณาความสัมพันธ์ของที่ตั้งของเทหะวัตถุบนท้องฟ้า หรือจุดตำแหน่งบนพื้นผิวโลกกับการเคลื่อนที่ของเทหะวัตถุ ทั้งนี้ การคิดค้นระบบเส้นกริดอย่างหยาบๆ ของ เอราทอสเทนีส ทำโดยการแบ่งโลกออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเส้นสมมุติลากผ่านเมืองสำคัญและลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่น ระบบเส้นกริดนี้ใช้เป็นกรอบสำหรับสร้างแผนที่และการกำหนดที่ตั้ง ทำให้แผนที่มีความถูกต้องยิ่งขึ้น
เอราทอสเทนีสได้รับการศึกษาหลากหลายสาขา เป็นต้นว่า นิรุกติศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา เชื่อกันว่าเขาได้เข้าศึกษาทั้งใน academy ของ Plato และ Lyceam ของ Aristotle เขาเกิดในอาณาจักรกรีกที่ Cyrene ในลิเบีย ต่อมาจึงย้ายไปอยู่ในเอเธนส์ ในปี 244 ก่อนคริสตกาล เขาได้รับเชิญจากกษัตริย์อียิปต์ให้ทำหน้าที่เป็นผู้สอนส่วนพระองค์ (royal tutor) และต่อมาได้เข้าทำงานใน Alexandria ศูนย์รวมวิทยากรสมัยกรีก ในฐานะหัวหน้างานบรรณารักษ์ นานถึง 42 ปี (ระหว่าง ปี 234 – 192 ก่อนคริสตกาล)
ชื่อเสียงของ เอราทอสเทนีส ขจรกระจายอย่างกว้างขวาง เนื่องจากการยอมรับว่าโลกกลม และเขาพยายามคำนวณเส้นรอบโลก หรือ วงกลมใหญ่ และผลการคำนวณใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด กล่าวคือ คำนวณได้ 25,000 ไมล์ คาดเคลื่อนไปเพียง 140 ไมล์เท่านั้น วิธีการคำนวณนั้นเขาได้สังเกตตำแหน่งของพระอาทิตย์ ณ บริเวณ 2 จุด คือ Syene และ Alexandria ในช่วง Summer solstice (วันที่ 21 มิถุนายน วันนี้มีแสงตั้งฉากของพระอาทิตย์จะขึ้นไปได้ไกลที่สุดในซีกโลกเหนือ และจะตกลงที่ลติจูด 23 องศาเหนือ ทุกส่วนในซีกโลกเหนือที่เหนือแนว arctic circle จะเป็นเวลากลางวัน 24 ชั่วโมง ส่วนในซีกโลกใต้ต่ำกว่าแนว antarctic circle จะเป็นเวลากลางคืน 24 ชั่วโมง ผลที่เกิดขึ้นในแต่ละลติจูดจะทำให้เส้นแบ่งเวลากลางวัน–กลางคืน ไม่เท่ากัน)
ณ เมือง Syene หรือ Aswan บนเกาะแห่งหนึ่งในแม่น้ำไนล์ บริเวณพระอาทิตย์สะท้อนขึ้นมาจากน้ำก้นบ่อ เหตุการณ์เกิดขึ้นมาช้านานโดยไม่มีนักเดินทางคนใดเป็นพยานได้ เพราะขาดความสนใจ ลักษณะเช่นนี้แสดงว่า พระอาทิตย์ส่องแสงลงมาตรงหัวพอดี ในเวลาเที่ยงวัน และตำแหล่งที่สองที่เขาสังเกตคือ บริเวณนอกพิพิธภัณฑ์ใน Alexandria ซึ่งมีอนุสาวรีย์ยอดแหลมตั้งอยู่ และเขาก็สามารถใช้อนุสาวรีย์แทน gnomon แล้ววัดความยาวของเงาอนุสาวรีย์ช่วงเที่ยงวันของ summer solstice เพื่อคำนวณมุมระหว่างยอดอนุสาวรีย์กับทิศทางของแสงพระอาทิตย์
ด้วยข้อมูลเหล่านี้ เอราทอสเทนีส ใช้หลักการเรขาคณิตของ thales ข้อที่สาม เกี่ยวกับเส้นคู่ขนานและมุมตรงข้าม ด้วยการสร้างเส้นคู่ขนานสมมุติขึ้นจากทิศทางของแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบพื้นโลกในวันนั้น ลำแสงอาทิตย์ ณ เมือง Syene จะตั้งตรง ซึ่งเขาโยงไปยังแกนกลางโลก (SC) ส่วนที่เมือง Alexandria ฐานของอนุสาวรีย์จะชี้ไปยัง (BOC) จะต้องมีค่าเท่ากับมุมตรงข้าม ณ ศูนย์กลางโลก (OCS)
คำถามต่อไปคือมุม OCS มีค่าเป็นเท่าไรของวงกลม เอราทอสเทนีส วัดระยะทางนี้ได้ 1/50 ของวงกลม โดยระยะทางระหว่าง Syene และ Alexandria (WO) ชาวอียิปต์วัดได้ 5,000 stades ดังนั้น เขาจึงวัดเส้นรอบโลกได้เท่ากับ 50×5,000 หรือ 250,000 stades โดย 10 stades เท่ากับ 1 ไมล์ ดังนั้นความยาวของเส้นรอบโลกของเขา จึงเท่ากับ 25,000 ไมล์ ซึ่งถือกันว่าใกล้กลับความจริงมากที่สุดเท่าที่มีการวัดมาของปราชญ์กรีกโบราณ ทั้งนี้เพราะเส้นรอบโลกวัดจากขั้นโลกเท่ากับ 24,860 ไมล์ อย่างไรก็ดีระยะทางระหว่างเมือง Syene กับAlexandria ที่แท้จริงเท่ากับ 453 ไมล์
เอราทอสเทนีส เขียนหนังสือบรรยายถึงดินแดนที่มนุษย์ สามารถอาศัยอยู่ได้ หรือ ekumene (เอราทอสเทนีส เชื่อว่า ดินแดนที่มนุษย์สามารถอาศัยอยู่ได้แผ่ขยายจากเมือง Thule ทางเหนือลงมาถึง Taproban (Ceylon หรือศรีลังกา) ทางใต้ ส่วนทางตะวันตกเริ่มจากมหาสมุทรแอตแลนติคไปถึงอ่าวเบงกอลทางตะวันออก) ซึ่งเขายอมรับว่ามีอยู่จริง และยังได้แบ่งโลกออกเป็นสามส่วนคือ ยุโรป เอเชีย และลิเบีย นอกจากนี้ยังยอมรับการแบ่งส่วนของโลกออกเป็น 5 ส่วนที่ Aristotle เสนอไว้ ได้แก่ เขตร้อน (torrid zone) เขตอบอุ่น 2 เขต (two temperate zone) และเขตหนาวเย็น 2 เขต (two frigid zone) เขาได้เสนอแนะเพิ่มเติม โดยใช้คณิตศาสตร์เข้าช่วยในการกำหนดเขตดังกล่าว กล่าวคือ เขตร้อนนั้น เขาคิดว่ามีความกว้างประมาณ 48 องศา โดยอยู่ระหว่างลติจูด 24 องศาเหนือ–ใต้ เขตหนาวเย็นกระจายอยู่ที่ขั้วโลกราว 24 องศา หรือตั้งแต่ลติจูด 84 องศาเหนือ–ใต้ขึ้นไป ขณะที่เขตอบอุ่นเป็นเขตที่อยู่ตรงกลางระหว่างลติจูด 24–84 องศาเหนือใต้