วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

UTM

ระบบพิกัดกริด UTM  (Universal Transvers Mercator co-ordinate System)    พิกัดกริด UTM (Universal Transvers Mercator) เป็นระบบตารางกริดที่ใช้ช่วยในการกำหนดตำแหน่งและใช้อ้างอิง
ในการบอกตำแหน่ง ที่นิยมใช้กับแผนที่ในกิจการทหารของประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกในปัจจุบัน   เพราะเป็นระบบตารางกริดที่มีขนาดรูปร่างเท่ากันทุกตาราง และมีวิธีการกำหนดบอกค่าพิกัดที่ง่ายและถูกต้องเป็นระบบกริดที่นำเอาเส้นโครงแผนที่แบบ  Universal Transvers Mercator Projection ของ Gauss Krugger มาใช้ดัดแปลงการถ่ายทอดรายละเอียดของพื้นผิวโลกให้รูปทรงกระบอก Mercator Projection อยู่ในตำแหน่ง Mercator Projection (แกนของรูปทรงกระบอกจะทับกับแนวเส้นอิเควเตอร์ และตั้งฉากกับแนวแกนของขั้วโลก)  ประเทศไทยเราได้นำเอาเส้นโครงแผนที่แบบ UTM นี้มาใช้กับการทำแผนที่กิจการทหารภายในประเทศจากรูปถ่ายทางอากาศในปี  1953 ร่วมกับสหรัฐอเมริกา เป็นแผนที่มาตราส่วน 1:50,000  ชุด 708 และปรับปรุงใหม่เป็นชุด L 7017 ที่ใช้ในปัจจุบัน
    แผนที่ระบบพิกัดกริด ที่ใช้เส้นโครงแผนที่แบบ UTM เป็นระบบเส้นโครงชนิดหนึ่งที่ใช้ผิวรูปทรงกระบอกเป็นผิวแสดงเส้นเมริเดียน (หรือเส้นลองกิจูด) และเส้นละติจูดของโลก โดยใช้ทรงกระบอกตัดโลกระหว่างละติจูด  84 องศาเหนือ และ 80 องศาใต้ในลักษณะแกนรูปทรงกระบอก ทำมุมกับแกนโลก 90  องศารอบโลก  แบ่งออกเป็น 60 โซนๆ  ละ 6 องศา โซนที่  1  อยู่ระหว่าง  180  องศา กับ   174  องศาตะวันตก    และมีลองกิจูด  177 องศาตะวันตก  เป็นเมริเดียนย่านกลาง (Central Meridian)  มีเลขกำกับแต่ละโซนจาก  1  ถึง   60  โดยนับจากซ้าย ไปทางขวาระหว่างละติจูด  84  องศาเหนือ  80  องศาใต้ แบ่งออกเป็น  2  ช่อง  ช่องละ   8 องศา  ยกเว้นช่องสุดท้ายเป็น  12 องศา  โดยเริ่มนับตั้งแต่ละติจูด 80 องศาใต้ ขึ้นไปทางเหนือ ให้ช่องแรกเป็นอักษร  C  และช่องสุดท้ายเป็นอักษร X  (ยกเว้น I และ  O)   จากการแบ่งตามที่กล่าวแล้วจะเห็นพื้นที่ในเขตลองกิจูด  180 องศาตะวันตก  ถึง   180  องศาตะวันออก  และละติจูด  80  องศาใต้ ถึง 84   องศาเหนือ  จะถูกแบ่งออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  1,200  รูป   แต่ละรูปมีขนาดกว้างยาว  6 องศา x  8 องศา จำนวน  1,140  รูป  และกว้างยาว  6 องศา x 12 องศา จำนวน  60  รูป   รูปสี่เหลี่ยมนี้เรียกว่า Grid Zone Designation (GZD) การเรียกชื่อ Grid Zone Designation ประเทศไทยมีพื้นที่อยู่ ระหว่างละติจูด 5 องศา 30 ลิปดา เหนือ ถึง 20 องศา 30 ลิปดา เหนือ  และลองกิจูดประมาณ 97 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก ถึง  105 องศา 30 ลิปดา ตะวันออก  ดังนั้น  ประเทศไทยจึงตกอยู่ใน GZD  47N  47P  47Q 48N  48P และ 48Q การอ่านค่าพิกัดกริดเพื่อให้พิกัดค่ากริดในโซนหนึ่งๆ  มีค่าเป็นบวกเสมอ  จึงกำหนดให้มีศูนย์สมมุติขึ้น  2  แห่ง  ดังนี้
    - ในบริเวณที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร : เส้นศูนย์สูตรมีระยะห่างจากศูนย์สมมุติเท่ากับ  0  เมตรและเส้นเมริเดียนย่านกลางห่างจากศูนย์สมมุติ  500,000  เมตร ทางตะวันออก
    - ในบริเวณที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร : เส้นศูนย์สูตรมีระยะห่างจากศูนย์สมมุติไปทางเหนือ   10,000,000  เมตร และเมริเดียนย่านกลางห่างจากศูนย์สมมุติ  500,000 เมตร ทางตะวันออก


http://www.rmutphysics.com/sciencefac/artic/map/map.htm

Lat and long

      Lat,Long คือ เส้นมาตรฐานที่ใช้ในการกำหนดพิกัดจุดบนโลกใบนี้ ซึ่งจะกำกับอยู่บนแผนที่ต่างๆ แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าเค้านับกันอย่างไร 
      Lat หรือ Latitude คือ เส้นที่เกิดจากการลากกวาดของเส้นรัศมีในแนวตั้งของโลก โดยมีการนับองศาที่ 0 เริ่มจากเส้นศูนย์สูตรจนถึง 90 องศา ถ้านับค่อนไปทางเหนือจะเรียกว่า องศาเหนือ(N) เช่นเดียวกันถ้าไปทางใต้ก็จะเรียกว่า องศาใต้(S)      Long หรือ Longitude เส้นที่เกิดจากการกวาดของเส้นรัศมีในแนวราบของโลก โดยมีการกำหนดให้เส้นที่ 0 องศาคือเส้นที่ลากผ่านเมือง Greenwich แล้วกระจายออกไปทั้งทางตะวันออก และ ทางตะวันตกของเมือง Greenwich โดยมีทั้งหมด 360 เส้นแต่จะนับโดยถ้าเป็นเส้นที่ออกไปทางขวาของเมือง Greenwich จะเรียกเป็น องศาตะวันออก(E) เช่นเดียวกันถ้าออกไปทางตะวันตกก็จะเรียกว่า องศาตะวันตก(W)

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย






ในช่วงเดือนเมษายนนี้ มีข่าวภัยพิบัติเกี่ยวกับแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะแผ่นดินไหวที่เกิดในจังหวัดภูเก็ต ที่เกิดอาฟเตอร์ช็อกอยู่หลายครั้ง และถึงแม้ว่าแผ่นดินไหวดังกล่าวจะไม่รุนแรง คือมีขนาดไม่เกิน 6 ริกเตอร์ ไม่ได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิต หรือเกิดสึนามิ แต่ข่าวแผ่นดินไหวก็สร้างความสนใจของประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหวแล้ว จะเกิดสึนามิตามมาหรือไม่ เขื่อนจะพังหรือไม่ และในประเทศไทยจะมีที่ไหนเกิดแผ่นดินไหวอีก

          อย่างไรก็ตาม แหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหวนั้นมาจากรอยเลื่อนที่มีพลัง ซึ่งรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย เคยเกิดขึ้นแล้ว 9 แห่งด้วยกัน และจากการรายงานของกรมทรัพยากรธรณีวิทยา ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลกลุ่มรอยเลื่อนล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลังทั้งหมด 14 รอยเลื่อน  โดยกระจายอยู่ใน 22 จังหวัด  ได้แก่

          1. รอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่านอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 101 กิโลเมตร

          2. รอยเลื่อนแม่อิง พาดผ่านอำเภอเทิง อำเภอขุนตาล และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย  ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร     

          3. รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 29 กิโลเมตร

          4. รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ พาดผ่านตั้งต้นจากลำน้ำเมย ชายแดนพม่า ต่อไปยังห้วยแม่ท้อ ลำน้ำปิง จังหวัดตาก ไปถึงจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ และสิ้นสุดที่จังหวัดอุทัยธานี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 250 กิโลเมตร           

          5. รอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวโค้งไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร        

          6. รอยเลื่อนเถิน พาดผ่านอำเภอแม่พริก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ในแนวโค้งในไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 103 กิโลเมตร

          7. รอยเลื่อนพะเยา พาดผ่านอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านทิศเหนือของรอยเลื่อนท่าสี มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร

          8. รอยเลื่อนปัว พาดผ่านพื้นที่อำเภอสันติสุข อำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอเชียงกลาง และอำเภอทุ่งช้าง ของจังหวัดน่านในแนวเหนือ-ใต้  ด้วยความยาวประมาณ  130 กิโลเมตร  

          9. รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ  150 กิโลเมตร

          10. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร

          11. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่านอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร

          12. รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ พาดผ่านอำเภอหนองไผ่ อำเภอเมือง อำเภอหล่มสัก และอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 110 กิโลเมตร

          13. รอยเลื่อนระนอง พาดผ่านพื้นที่ตั้งแต่ จังหวัดระนอง ชุมพร ประจวบ คีรีขันธ์ และพังงา  มีความยาวประมาณ 270 กิโลเมตร    

          14. รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอทับปุด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา พาดผ่านไปตามทะเลอันดามัน ระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กับอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 148 กิโลเมตร

          นอกจาก 14 รอยเลื่อนที่กรมทัพยากรธรณีได้ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว สำนักข่าวบางแห่งยังเผยว่า รอยเลื่อนมะยม ก็เป็นอีกหนึ่งรอยเลื่อนที่มีพลัง โดยรอยเลื่อนดังกล่าว จะพาดผ่านอำเภอสอง จังหวัดแพร่ และอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 22 กิโลเมตร ดังนั้น ทุกภาคส่วนจึงควรติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของทั้ง 15 รอยเลื่อนดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

          อย่างไรก็ตาม รอยเลื่อนที่ต้องจับตา และเฝ้าระวังมากที่สุดในขณะนี้ คือ รอยเลื่อนระนอง และรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ซึ่งถือเป็นรอยเลื่อนที่มีพลังรุนแรง และอาจส่งผลกระทบกับภาคใต้ในหลายจังหวัด อาทิ จังหวัดชุมพร ระนอง และสุราษฎร์ธานี    

http://hilight.kapook.com/view/70165

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Ecological Footprint

   



      ปัญหาในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญในระดับโลก ที่นานาประเทศให้ความสำคัญเป็นห่วงกับการใช้ทรัพยากรและของเสียที่ปล่อยออกมาสู่สิ่งแวดล้อมของประเทศต่าง ๆ ด้วยความวิตกกังวลว่าโลกของเราใบนี้เพียงพอที่จะสามารถรองรับกับกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ได้หรือไม่ ซึ่งแต่เดิมการกล่าวถึงขีดความสามารถในการรองรับสูงสุด ( Carrying Capacity ) มักกล่าวกันในเชิงพรรณนา ที่เป็นนามธรรมสะท้อนให้เห็นภาพกว้าง แต่ไม่สามารถชี้ชัดลงไปหรือวัดรายละเอียดที่เป็นรูปธรรมได้ว่าสังคมใดหรือใครที่เป็นผู้ใช้ทรัพยากรหรือปล่อยของเสียจนเกินขีดความสามารถรองรับสูงสุด และจะเข้าไปแก้ไขที่สาเหตุของปัญหานั้นได้อย่างไร
    แนวคิด "รอยเท้านิเวศ" (Ecological Footprint : EF) เป็นแนวคิดที่มีการนำเสนอในปี พ.ศ. 2539 โดย Mathis Wackernagel และ William Rees แห่งมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง "รอยเท้านิเวศของเรา : การลดผลกระทบของมนุษย์ต่อโลก" ( Our Ecological Footprint : Reducing Human Impact on the Earth (Philadelphia and Gabriola Island, BC, Canada: New Society Publishers, 1996) เมื่อแนวคิดรอยเท้านิเวศเนี้ผยแพร่ต่อสาธารณะ ได้ก่อให้เกิดความสนใจและมีการนำไปทดสอบพิสูจน์ใช้ในที่ต่างๆ อย่างกว้างขวาง จนถือได้ว่าแนวคิดรอยเท้านิเวศเป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่มีการนำมาใช้ในการประเมินขีดความสามารถในการรองรับสูงสุดของโลก ระดับประเทศ เมือง ชุมชน และระดับบุคคลได้
   รอยเท้าทางนิเวศน์ คือ ขนาดของพื้นที่บนโลกที่ต้องใช้ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการทั้งหมดนับตั้งแต่เรื่องอาหาร ไปจนถึงไม้ หรือแร่ธาตุ รวมทั้งกระบวนการจัดการกับของเสียทั้งหมด เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับจุลินทรีย์ พืช และสัตว์อื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการวิเคราะห์หาสัดส่วนความสัมพันธ์ระหว่างอุปสงค์ / อุปทานข้างต้นของมนุษย์
   รอยเท้านิเวศ ช่วยให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมการบริโภค ของเรากับการพึ่งพาระบบนิเวศ ในระดับโลก และแสดงให้เห็นผลกระทบของแต่ละประเทศที่มีต่อทรัพยากรโลก โดย เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพและปริมาณของทรัพยากรทางนิเวศที่ชุมชน หรือประเทศหนึ่ง ๆ ในการบริโภค ไม่ว่าทรัพยากรนั้นจะสามารถหาได้เองในท้องถิ่น หรือนำเข้ามาโดยใช้การค้าและเทคโนโลยีจากแหล่งภายนอกที่ไหนในโลกก็ตาม
  รอยเท้านิเวศ จึงเป็นการอุปมาเพื่อให้เห็นภาพ คนเราเมื่อเดินเท้าไปไหนก็มีรอยเท้าประทับในที่ต่างๆ รอยเท้านี้จะเท่ากับรอยเท้าตามธรรมชาติของบุคคลนั้นๆ และโดยทั่วไปไม่มีขนาดแตกต่างกันมากนัก แต่รอยเท้าทางนิเวศของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตามการเก็บเกี่ยวจากทรัพยากรและการสร้างของเสีย จึงมีขนาดแตกต่างกันมาก เช่น รอยเท้านิเวศของประชากรสหรัฐฯใหญ่กว่าของไทยหลายเท่า รอยเท้านิเวศจึงเป็นการเปรียบเทียบหรือวัดว่า บุคคลหนึ่ง เมืองหนึ่ง หรือประชาชาติหนึ่ง ได้เหยียบย่ำในระบบนิเวศกว้างเพียงใด
    ประเภทของรอยเท้านิเวศ ในการคำนวณรอยเท้านิเวศนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1) รอยเท้าสำหรับที่อยู่อาศัย (Shelter Footprint) ได้แก่ ทรัพยากรที่ใช้ในการก่อสร้างบ้าน และการใช้พลังงานในบ้าน
2) รอยเท้าสำหรับอาหาร (Food Footprint) ได้แก่ การบริโภคอาหารแต่ละประเภท เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ อาหารแช่แข็ง เครื่องดื่มต่างๆ
3) รอยเท้าสำหรับการเดินทาง (Transportation Footprint) คือ รูปแบบของการเดินทาง ได้แก่ การเดินทางโดยรถยนต์ จักรยาน เครื่องบิน เรือ รถไฟ รถประจำทาง
4) รอยเท้าสำหรับของสารพัดสิ่ง (Goods & Services Footprint) เช่น เสื้อผ้า รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ ภาชนะ ของใช้ต่างๆ ระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสีย การสื่อสารต่างๆ การดูแลสุขภาพ
      จากการคำนวนของ Global footprint network ในปี ค.ศ. 2010 พบว่า มนุษย์เราต้องใช้พื้นที่โลก 1.5 ดวง เพื่อที่จะรองรับในการใช้ทรัพยากรและการรองรับของเสียที่เกิดขึ้น หรืออีกนัยหนึ่ง คือ เราต้องใช้เวลาถึง 1 ปี กับอีก 6 เดือน สำหรับการผลิตทรัพยากรขึ้นมาใหม่ สำหรับสิ่งที่เราใช้และบริโภคเพียงแค่ 1 ปี และยังคาดการณ์ไปอีก 20 ปี ข้างหน้า ถ้าหากมนุษย์เรายังคงมีพฤติกรรมการบริโภคอย่างนี้อยู่  ในปี ค.ศ. 2030 มนุษย์เราจะต้องใช้โลกถึง 2 ใบ ที่จะเข้ามารองรับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่เรามีโลกเพียงแค่ใบเดียวเท่านั้น

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภูเขาไฟดาลลอลสถานที่ต้องห้าม

หนึ่งในสถานที่ต้องห้าม “ภูเขาไฟดาลลอล” (Dallol Volcano) ดินแดนแห่งความตายที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น 1 ใน 10 สถานที่ในโลกที่คุณไม่ควรไป แต่เป็นธรรมดามนุษย์ ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ยิ่งอยากรู้ยิ่งแสวงหา
ปล่องภูเขาไฟ “ดาลลอล” อันลือชื่อ ตั้งอยู่ในแอ่งดานาคิล (Danakil Depression) แอ่งรูปพัดกว้างใหญ่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 50° เซลเซียส อยู่ในทะเลทรายดานาคิล (Danakil Desert) ทะเลทรายที่อยู่ในเขตพื้นของสามเหลี่ยมอะฟาร์ (Afar Triangle) ประเทศเอธิโอเปีย
จุดที่ลึกที่สุดในทะเลทรายดานาคิลคือ แอ่งดานาคิล มีความลึกประมาณ 100 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งอุตสาหกรรมหลักๆ ในเขตทะเลทรายดานาคิลแห่งนี้ คือ การทำเหมืองเกลืออันมีชื่อเสียงที่ยังใช้การขนส่งโดยคาราวานอูฐเท่านั้น

ที่มา http://travel.mthai.com/world-travel/14442.html

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การประยุกต์ใช้งาน GIS

การประยุกต์ใช้ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS
ในงานด้านการชลประทาน
      การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร GIS ในงานด้านชลประทาน ตามประเด็นยุทธศาสตร์หลักของกรมชลประทานที่การบริหารจัดการน้ำมีส่วนเกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจหลักอันสำคัญ ได้แก่ การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตรอย่างพอเพียง การป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ และการพัฒนาบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการปัจจุบันกรมชลประทานได้นำเอานวัตกรรมทางเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ และมีบทบาทในการบริหารจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์หลักดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้านภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถรวบรวม จัดเก็บ จัดการ วิเคราะห์และตีความข้อมูลข่าวสารเชิงพื้นที่ นั่นคือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) ระบบการกำหนดตำแหน่งบนโลก(Global Positioning Systems: GPS) การรับรู้จากระยะไกล (Remote Sensing: RS) การสำรวจด้วยภาพถ่าย(Photogrammetry) และเทคโนโลยีการทำแผนที่ (Mapping Technologies) มาใช้ในงานชลประทานส่วนต่างๆ ได้แก่ งานด้านการบริหารโครงการ เช่น วางแผนการชลประทาน โดยเฉพาะการให้ข้อมูลเกี่ยวกับคลองชลประทาน แม่น้ำ ลำคลอง หนองน้ำ อ่างเก็บน้ำและเขื่อน วางแผนพัฒนาและจัดการทรัพยากรน้ำในแต่ละลุ่มน้ำ ศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำ เพื่อการพิจารณาโครงการชลประทานเบื้องต้น
       สำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำสำหรับเกษตรกรรมและรองรับการใช้น้ำในการขยายตัวของกลุ่มผู้ใช้น้ำในชุมชน งานด้านสำรวจและธรณีวิทยา เช่น จัดทำแผนที่ประเภทต่างๆสำหรับศึกษาความเหมาะสมของงานออกแบบโครงการชลประทาน วางแผนการสร้างอ่างเก็บน้ำ เขื่อน กำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ ใช้ประกอบการพิจารณาการจ่ายค่าชดเชย การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน งานด้านสารสนเทศ เช่น จัดทำและพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เผยแพร่การใช้งานข้อมูล และงานด้านอุทกวิทยาและบริหารน้ำ สามารถติดตามสถานการณ์น้ำฝน น้ำท่า น้ำในอ่างเก็บน้ำและปริมาณการใช้น้ำ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนใช้ประเมินหาขอบเขตอุทกภัย-รวมทั้งการเข้าถึงพื้นที่ จากเส้นทางการคมนาคม เพื่อการวางแผนป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น

 http://www.rid-1.com/gis_rid1/applygis.php

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รีโมทเซนซิง (Remote Sensing)

ความหมายของรีโมตเซนซิง

รีโมตเซนซิง (Remote Sensing) หรือการสำรวจข้อมูลระยะไกล (การรับรู้ระยะไกล)
เป็นศัพท์เทคนิคที่ใช้เป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ.2503 หมายถึง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแขนงหนึ่ง ที่บันทึกคุณลักษณะของวัตถุ (Object) หรือปรากฎการณ์ (Phenomena) ต่างๆ จากการสะท้อนแสง/หรือ การแผ่รังสีพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Energy) โดยเครื่องวัด/อุปกรณ์บันทึกที่ติดอยู่กับยานสำรวจ  การใช้รีโมตเซนซิงเริ่มแพร่หลายนับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาได้ส่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรก LANDSAT-1 ขึ้นใน พ.ศ.2515
เราสามารถหาคุณลักษณะของวัตถุได้จากลักษณะการสะท้อนหรือการแผ่พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าจากวัตถุนั้น ๆ คือ "วัตถุแต่ละชนิด จะมีลักษณะการสะท้อนแสงหรือการแผ่รังสีที่เฉพาะตัวและแตกต่างกันไป ถ้าวัตถุหรือสภาพแวดล้อมเป็นคนละประเภทกัน" คุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูลใน 3 ลักษณะ คือ ช่วงคลื่น(Spectral) รูปทรงสัณฐานของวัตถุบนพื้นโลก (Spatial) และการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา (Temporal) รีโมตเซนซิงจึงเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการจำแนก และเข้าใจวัตถุหรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จากลักษณะเฉพาะตัวในการสะท้อนแสง
หรือแผ่รังสี
ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจระยะไกล ในที่นี้จะหมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการถ่ายภาพทางเครื่องบินในระดับต่ำ ที่เรียกว่า รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photo) และข้อมูลที่ได้จากการบันทึกภาพจากดาวเทียมในระดับสูงกว่า เรียกว่า ภาพถ่ายจากดาวเทียม (Satellite Image)
องค์ประกอบที่สำคัญของการสำรวจข้อมูลระยะไกล คือ คลื่นแสง ซึ่งเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ว่าเป็นพลังงานที่ได้จากดวงอาทิตย์ หรือเป็นพลังงานจาก ตัวเอง ซึ่งระบบการสำรวจข้อมูลระยะไกลโดยอาศัยพลังงานแสงธรรมชาติ เรียกว่า Passive Remote Sensing ส่วนระบบบันทึกที่มีแหล่งพลังงานที่สร้างขึ้นและส่งไปยัง วัตถุเป้าหมาย เรียกว่า Active Remote Sensing เช่น ระบบเรดาร์ เป็นต้น

หลักการของรีโมตเซนซิง


หลักการของรีโมตเซนซิงประกอบด้วยกระบวนการ 2 กระบวนการ ดังต่อไปนี้คือ
1. การได้รับข้อมูล (Data Acquisition) เริ่มตั้งแต่พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดพลังงาน เช่น ดวงอาทิตย์ เคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศ, เกิดปฏิสัมพันธ์กับวัตถุบนพื้นผิวโลก และเดินทางเข้าสู่เครื่องวัด/อุปกรณ์บันทึกที่ติดอยู่กับยานสำรวจ (Platform) ซึ่งโคจรผ่าน ข้อมูลวัตถุหรือปรากฏการณ์บนพื้นผิวโลกที่ถูกบันทึกถูกแปลงเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ส่งลงสู่สถานีรับภาคพื้นดิน (Receiving Station) และผลิตออกมาเป็นข้อมูลในรูปแบบของข้อมูลเชิงอนุมาน (Analog Data) และข้อมูลเชิงตัวเลข(Digital Data) เพื่อนำไปนำวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป
2. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) วิธีการวิเคราะห์มีอยู่ 2 วิธี คือ
- การวิเคราะห์ด้วยสายตา (Visual Analysis) ที่ให้ผลข้อมูลออกมาในเชิงคุณภาพ (Quantitative) ไม่สามารถ วัดออกมาเป็นค่าตัวเลขได้แน่นอน
- การวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ (Digital Analysis) ที่ให้ผลข้อมูลในเชิงปริมาณ (Quantitative) ที่สามารถแสดงผลการวิเคราะห์ออกมาเป็นค่าตัวเลขได้
การวิเคราะห์หรือการจำแนกประเภทข้อมูลต้องคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้
1. Multispectral Approach คือ ข้อมูลพื้นที่และเวลาเดียวกันที่ถูกบันทึกในหลายช่วงคลื่น ซึ่งในแต่ละช่วงความยาวคลื่น (Band) ที่แตกต่างกันจะให้ค่าการสะท้อนพลังงานของวัตถุหรือพื้นผิวโลกที่แตกต่างกัน
2. Multitemporal Approach คือ การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา จำเป็นต้องใช้ข้อมูลหลายช่วงเวลา เพื่อนำมาเปรียบเทียบหาความแตกต่าง
3. Multilevel Approach คือ ระดับความละเอียดของข้อมูลในการจำแนกหรือวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้งาน เช่น การวิเคราะห์ในระดับภูมิภาคก็อาจใช้ข้อมูลจากดาวเทียม LANDSAT ที่มีรายละเอียดภาพปานกลาง (Medium Resolution)   แต่ถ้าต้องการศึกษาวิเคราะห์ในระดับจุลภาค เช่น ผังเมือง ก็ต้องใช้ข้อมูลดาวเทียมที่ให้รายละเอียดภาพสูง (High Resolution) เช่น ข้อมูลจากดาวเทียม SPOT, IKONOS, หรือรูปถ่ายทางอากาศเป็นต้น


http://www.alumni.forest.ku.ac.th/index.php?option=com_k2&view=item&id=1:%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5-remote-sensing&Itemid=107

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ดวงตาบนท้องฟ้า

'สวิงเล็ท แคม' ดวงตาบนท้องฟ้า


นักวิทยาศาสตร์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ ได้พัฒนาและออกแบบ นวัตกรรมใหม่ สำหรับการตรวจสอบแผนที่ทางภูมิศาสตร์, การจราจร รวมถึงการตรวจวัดมลพิษในอากาศ โดยให้ชื่อเครื่องร่อนขนาดเล็ก ที่ติดกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูง ว่า 'สวิงเล็ท แคม'

ซึ่งสวิงเล็ท เป็นผลงานของบริษัทเซนส์ฟลาย  โดยแอนเดรีย ฮิลเดอบรันด์ หนึ่งในทีมผู้ก่อตั้งบริษัทกล่าวว่า เจ้าเครื่องร่อนขนาดเล็ก ที่มีลักษณะคล้ายว่าวนี้ สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้หลายรูปแบบ ทั้งให้นักภูมิศาสตร์ใช้ถ่ายภาพมุมสูงเพื่อสำรวจภูมิประเทศ หรือให้นักอุตุนิยมวิทยาและนักวิจัยสภาพอากาศ ใช้ตรวจสอบอุณหภูมิ, ความชื้น หรือมลภาวะในชั้นบรรยากาศ โดยเพียงนำตัวเซนเซอร์ตรวจจับสภาพหรือมลภาวะ มาเปลี่ยนกับอุปกรณ์กล้องที่ติดตั้งมากับตัวเครื่องร่อนเท่านั้น

สวิงเล็ท ทำมาจากโพลิโพรพิลีน วัสดุจำพวกพลาสติกที่ทนความร้อนได้สูง และมีน้ำหนักเบา ทำให้มันหนักทั้งหมดเพียงครึ่งกิโลกรัม โดยภายในมีการติดตั้งระบบออโต้ ไพลอท และจีพีเอส ซึ่งช่วยในการกำหนดความเร็ว ,ระดับความสูง รวมถึงทิศทางของการบิน

ขณะเดียวกัน การติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมชนิดพิเศษ ที่เชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ฐานปฏิบัติการ และตัวเครื่องร่อน ทำให้ผู้ใช้สามารถ เปลี่ยนเส้นทางการสำรวจได้ แม้แต่ในขณะที่สวิงเล็ทกำลังบินอยู่บนท้องฟ้า

อย่างไรก็ตาม แม้สวิงเล็ทจะมีลักษณะการใช้งานที่ดูเป็นรูปแบบเฉพาะ แต่บริษัทผู้ผลิตก็เชื่อว่า มันน่าจะสามารถทำยอดขายในตลาดของผู้บริโภคทั่วไปได้ โดยเฉพาะกับบรรดาเหล่าเศรษฐี ที่ชื่นชอบภาพการสำรวจจากท้องฟ้า หรือมีความสนใจภาพถ่ายมุมสูง ซึ่งสนนราคาของ สวิงเล็ท ในช่วงแรกนี้ น่าจะตกอยู่ที่ประมาณ 10,000 ดอลลาร์ หรือราว 300,000 บาท
Produced by VoiceTV

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภูมิศาสตร์กายภาพ

ความหมายของขอบข่ายของภูมิศาสตร์กายภาพ

ภูมิศาสตร์กายภาพ หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งส่วนที่เป็นธรณีภาค อุทกภาค บรรยากาศภาค และชีวภาค ตลอดจนความสัมพันธ์ทางพื้นที่ (spatial Relation) ของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่างๆดังกล่าวข้างต้น
ดังนั้นภูมิศาสตร์ทางกายภาพจึงเป็นวิชาหลักพื้นฐานที่สามารถวิเคราะห์เหตุผลประกอบกับการสังเกตพิจารณาสิ่งที่ผันแปรเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคต่างๆ ของโลกได้เป็นอย่างดี การศึกษาภูมิศาสตร์กายภาพแผนใหม่ต้องศึกษาอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยหลักเกณฑ์ทางภูมิศาสตร์ หรือหลักเกณฑ์สถิติซึ่งเป็นข้อเท็จจริง จากวิชาในแขนงที่เกียวข้องกัน มาพิจารณาโดยรอบคอบ
ภูมิศาสตร์กายภาพมีขอบข่าย หรือมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับศาสตร์ต่างๆดังนี้

1.
ยีออเดซี (Geodesy) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการหารูปทรงสัณฐานและขนาดของพิภพโดยการคำนวณหรือจากการรังวัดโดยตรง
2.
ดาราศาสตร์ (Astronomy) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยธรรมชาติอันเกี่ยวกับองค์ประกอบของการเคลื่อนที่ ตำแหน่งสัมพันธ์ และลักษณะที่ปรากฎของเทห์ ฟากฟ้าต่างๆของโลก
3.
การเขียนแผนที่ (Cartography) คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำแผนที่ ซึ่งมีความหมายคลุม ทั้งวิชาการที่เป็นมูลฐานในการทำแผนที่ และศิลปะในการเขียน แผนที่ชนิดต่างๆ
4.
อุตุนิยมวิทยาและภูมิอากาศวิทยา (Meteorology and Climatology) คือ ศาสตร์ที่กล่าวถึงเรื่องราวของบรรยากาศและองค์ประกอบของภูมิอากาศ และกาลอากาศ
5.
ปฐพีวิทยา (Pedology) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดิน
6.
ภูมิศาสตร์พืช (Plant GeoGraphy) คือ ภูมิศาสตร์แขนงหนึ่งในสาขาวิชาภูมิศาสตร์การเกษตร เน้นหนักเรื่องพืชพรรณในถิ่นต่าง ๆ ของโลก โดยพิจารณา สภาพภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องหรือ มีผลต่อพืชนั้นๆ
7.
สมุทรศาสตร์กายภาพ (Physical Oceanography) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาทางด้านกายภาพ เกี่ยวข้องกับท้องทะเลและมหาสมุทร
8.
ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยพื้นผิวโลก ซึ่งประมวล เอาทั้งรูปร่างธรรมชาติ กระบวนการกำเนิดและพัฒนาตัว ตลอดจน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
9.
ธรณีวิทยา (Geology) คือ ศาสตร์ที่ด้วยความรู้เกี่ยวกับโลกทั้งภายในและภายนอก เรียกอย่างสามัญว่า วิทยาศาสตร์โลก (Earth Science)
10.
อุทกวิทยา (Hydrology) คือ ศาสตร์เกี่ยวกับน้ำที่มีอยู่ในโลก เช่น ศึกษาสาเหตุการเกิดการหมุนเวียน การทรงอยู่ คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ ตลอดจน คุณลักษณะของน้ำในลำน้ำ ทะเลสาบ และน้ำในดิน รวมทั้งการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ การควบคุมและการอนุรักษ์น้ำ




องค์ประกอบของภูมิศาสตร์กายภาพ
ในการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์กายภาพจะต้องกล่าวถึงหัวข้อต่อไปนี้
1.
ลักษณะภูมิประเทศ (Landforms) ลักษณะภูมิประเทศ หมายถึง ลักษณะของเปลือกโลกที่ปรากฎให้เห็นเป็นรูปแบบต่างๆ เช่นที่ราบ เนินเขา ห้วยหนอง คลองบึง แม่น้ำ ลำธาร ทะเล ทะเลสาบ เป็นต้น ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1.
ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฎเด่นชัด (Major Landforms) หมายถึง ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฎให้เห็นเป็นรูปแบบต่างๆ อย่างเด่นชัด ที่สำคัญ มี 4 ชนิด ได้แก่ ที่ราบ ที่ราบสูง และภูเขา
2.
ลักษณะภูมิประเทศที่ไม่ปรากฎเด่นชัด (Minor Landform) หมายถึง ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฎให้เห็นเป็นรูปแบบต่างๆ ที่สำคัญ รองลงมา เช่น แม่น้ำ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ อ่าว และเกาะต่างๆ เป็นต้น