วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภูมิศาสตร์กายภาพ

ความหมายของขอบข่ายของภูมิศาสตร์กายภาพ

ภูมิศาสตร์กายภาพ หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งส่วนที่เป็นธรณีภาค อุทกภาค บรรยากาศภาค และชีวภาค ตลอดจนความสัมพันธ์ทางพื้นที่ (spatial Relation) ของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่างๆดังกล่าวข้างต้น
ดังนั้นภูมิศาสตร์ทางกายภาพจึงเป็นวิชาหลักพื้นฐานที่สามารถวิเคราะห์เหตุผลประกอบกับการสังเกตพิจารณาสิ่งที่ผันแปรเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคต่างๆ ของโลกได้เป็นอย่างดี การศึกษาภูมิศาสตร์กายภาพแผนใหม่ต้องศึกษาอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยหลักเกณฑ์ทางภูมิศาสตร์ หรือหลักเกณฑ์สถิติซึ่งเป็นข้อเท็จจริง จากวิชาในแขนงที่เกียวข้องกัน มาพิจารณาโดยรอบคอบ
ภูมิศาสตร์กายภาพมีขอบข่าย หรือมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับศาสตร์ต่างๆดังนี้

1.
ยีออเดซี (Geodesy) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการหารูปทรงสัณฐานและขนาดของพิภพโดยการคำนวณหรือจากการรังวัดโดยตรง
2.
ดาราศาสตร์ (Astronomy) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยธรรมชาติอันเกี่ยวกับองค์ประกอบของการเคลื่อนที่ ตำแหน่งสัมพันธ์ และลักษณะที่ปรากฎของเทห์ ฟากฟ้าต่างๆของโลก
3.
การเขียนแผนที่ (Cartography) คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำแผนที่ ซึ่งมีความหมายคลุม ทั้งวิชาการที่เป็นมูลฐานในการทำแผนที่ และศิลปะในการเขียน แผนที่ชนิดต่างๆ
4.
อุตุนิยมวิทยาและภูมิอากาศวิทยา (Meteorology and Climatology) คือ ศาสตร์ที่กล่าวถึงเรื่องราวของบรรยากาศและองค์ประกอบของภูมิอากาศ และกาลอากาศ
5.
ปฐพีวิทยา (Pedology) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดิน
6.
ภูมิศาสตร์พืช (Plant GeoGraphy) คือ ภูมิศาสตร์แขนงหนึ่งในสาขาวิชาภูมิศาสตร์การเกษตร เน้นหนักเรื่องพืชพรรณในถิ่นต่าง ๆ ของโลก โดยพิจารณา สภาพภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องหรือ มีผลต่อพืชนั้นๆ
7.
สมุทรศาสตร์กายภาพ (Physical Oceanography) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาทางด้านกายภาพ เกี่ยวข้องกับท้องทะเลและมหาสมุทร
8.
ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยพื้นผิวโลก ซึ่งประมวล เอาทั้งรูปร่างธรรมชาติ กระบวนการกำเนิดและพัฒนาตัว ตลอดจน ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
9.
ธรณีวิทยา (Geology) คือ ศาสตร์ที่ด้วยความรู้เกี่ยวกับโลกทั้งภายในและภายนอก เรียกอย่างสามัญว่า วิทยาศาสตร์โลก (Earth Science)
10.
อุทกวิทยา (Hydrology) คือ ศาสตร์เกี่ยวกับน้ำที่มีอยู่ในโลก เช่น ศึกษาสาเหตุการเกิดการหมุนเวียน การทรงอยู่ คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ ตลอดจน คุณลักษณะของน้ำในลำน้ำ ทะเลสาบ และน้ำในดิน รวมทั้งการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ การควบคุมและการอนุรักษ์น้ำ




องค์ประกอบของภูมิศาสตร์กายภาพ
ในการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์กายภาพจะต้องกล่าวถึงหัวข้อต่อไปนี้
1.
ลักษณะภูมิประเทศ (Landforms) ลักษณะภูมิประเทศ หมายถึง ลักษณะของเปลือกโลกที่ปรากฎให้เห็นเป็นรูปแบบต่างๆ เช่นที่ราบ เนินเขา ห้วยหนอง คลองบึง แม่น้ำ ลำธาร ทะเล ทะเลสาบ เป็นต้น ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1.
ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฎเด่นชัด (Major Landforms) หมายถึง ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฎให้เห็นเป็นรูปแบบต่างๆ อย่างเด่นชัด ที่สำคัญ มี 4 ชนิด ได้แก่ ที่ราบ ที่ราบสูง และภูเขา
2.
ลักษณะภูมิประเทศที่ไม่ปรากฎเด่นชัด (Minor Landform) หมายถึง ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฎให้เห็นเป็นรูปแบบต่างๆ ที่สำคัญ รองลงมา เช่น แม่น้ำ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ อ่าว และเกาะต่างๆ เป็นต้น

1 ความคิดเห็น: