วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

สถานีอวกาศเมียร์

สถานีอวกาศเมียร์  Mir Space Station
 
     
   มารู้จักกับเมียร์
      สถานีอวกาศเมียร์ เป็นโครงการอวกาศด้านวิทยาศาสตร์ของรัสเซีย รุ่นที่สาม นับจากโครงการ Salyut Station เมื่อปี 1970 และ 1980 ซึ่งประสพผลสำเร็จทำให้ MIR เติบโตขึ้นมา
      ชื่อ MIR  มีความหมายว่า สันติ (Peace) โดยโครงการสถานีอวกาศเมียร์ เริ่มขึ้นสู่วงโคจรครั้งแรกเมื่อปีพศ.2529 (คศ.1986)  หลังจากที่ในอวกาศว่างเว้น SkyLab ไม่สถานีอวกาศโคจรอยู่เลยนาน 7 ปี  ชิ้นส่วนสถานีชิ้นแรก ที่เรียกว่า Core Module ถูกส่งเข้าสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พศ. 2529  (คศ.1986)  อยู่ในวงโคจรที่ระดับความสูง 248-261 กิโลเมตร (อยู่ต่ำกว่า สถานี ISS )  โดยโคจรรอบโลกด้วยความเร็ว ประมาณ 28,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือประมาณ 16 รอบต่อ 1 วัน  ทำมุมเอียงกับเส้นอิคลิปติด 51.6 องศา  และหลังจากนั้น ชิ้นส่วนอื่นๆของสถานีก็ถูกส่งขึ้นไปเชื่อมต่อเรื่อยๆ มีมูลค่าทั้งสิ้น 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ 

 แสดงแนวโคจรของสถานีอวกาศเมียร์



  ภาพถ่ายเมื่อสถานีอวกาศเมียร์โคจรผ่านน่านฟ้า 
   ประวัติศาสตร์อันยาวนาน
     นับจากวันที่ชิ้นส่วนแรกของเมียร์ถูกปล่อยขึ้นสู่วงโคจรเมื่อปี คศ.1986 จนถึงปัจจุบัน(คศ.2001) เมียร์มีอายุเกือบ 15 ปีแล้ว โคจรรอบโลกมาแล้ว 83,500 รอบ ประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมียร์ ที่ให้ประโยชน์แก่วงการวิทยาศาสตร์ อย่างมากมาย มีมนุษย์ได้ขึ้นไปอยู่แล้ว 104 คน จากอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และประเทศอื่นๆ  และที่เป็นของรัสเซียเอง 42 คน   มีการทำสถิติให้มนุษย์ อยู่ในอวกาศได้นานที่สุด 747 วัน โดยนักบินอวกาศ Sergei Avdeyev  ระหว่างปีคศ.1997-1999  และการเดินในอวกาศของมนุษย์อวกาศ 78 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 352 ชั่วโมง โดยสถิติเป็นของ  Anatoly Solovyov  เดินในอวกาศ 16 ครั้ง รวมเวลา 77 ชั่วโมง  
                 
              Valery Polyakov              Norman Thagard

     สรุปเหตุการณ์ช่วง 15 ปีที่ผ่านมา 
1986 สหภาพโซเวียด ส่งโมดูลของสถานีเมียร์ส่วนแรก Core Module  เข้าสู่วงโคจร เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 1986  และลูกเรือกลุ่มแรกที่ขึ้นบนสถานี เมื่อวันที่ 13 มีนาคม
1987  โมดูลส่วนที่สอง Kvant-1 ก็ถูกส่งขึ้นไป เชื่อมต่อ แต่ประสพปัญหาในการต่อยาน ปรากฏว่า พบเศษขยะอยู่ในส่วนเชื่อมต่อ (Docking Port)
1989  ส่งโมดุล Kvant-2 ขึ้นไปเชื่อมต่อกับสถานี
1990  ส่งโมดูล Kristall  ขึ้นไปเชื่อมต่อกับสถานี
1991 ยานขนส่งสินค้าควบคุมไม่ได้ระหว่างเข้าเชื่อมกับสถานีทำให้เกือบชนกับสถานีอวกาศ และทางรัสเซีย ขาดเงินทุน ประกอบกับการล้มสลายของสหภาพโซเวียต ทำให้ลูกเรือ ต้องอยู่ในอวกาศนานขึ้นกว่าที่กำหนดไว้
1995 นักบินอวกาศชาวรัสเซีย Valery Polyakov เดินทางกลับโลก หลังจากที่ต้องอยู่ในอวกาศนานถึง 438 วัน หรือ 14 เดือน นับเป็นการอยู่ในอวกาศนานที่สุดเป็นครั้งแรก  มีการติดตั้ง Docking Module และ Norman Thagard  เป็นชาวอเมริกันคนแรก ที่ไปเยี่ยมสถานีอวกาศเมียร์
 
กระสวยแอตแลนติส (STS-71) เชื่อมต่อกับสถานีอวกาศเมียร์เป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่อโปรแกรม Shuttle-Mir

1996 มีการติดตั้งโมดูล Priroda สำหรับใช้เป็นโมดูลควบคุมสถานีระยะไกลจากโลก
1997
เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงอย่างต่อเนื่อง กับสถานีอวกาศ โดยครั้งแรก 23 กุมภาพันธ์ ถังผลิต อ๊อกซิเยนในสถานีเกิดติดไฟขึ้น  ทำให้เกือบไฟครอก ลูกเรือในสถานี , วันที่ 25 มิถุนายน ยานสินค้า(Progress) กระแทกกับตัวสถานี ระหว่างการฝึกควบคุมการเชื่อมต่อ ด้วยมือ ทำให้ส่วนห้องทดลองอากาศรั่ว แต่ลูกเรืออุดลอยรั่วไว้ได้ทัน , สองวันต่อมาคอมพิวเตอร์ บนสถานีดับ, เดือนกรกฏาคม ลูกเรือตัดพลังงานบนสถานี ก่อนกำหนดทำให้สถานีต้องลอยคว้างอยู่ในอวกาศ  และอีก 1 เดือนต่อมา เครื่องคอมพิวเตอร์หลักดับ ระหว่างเชื่อมต่อกับยานขนส่งสินค้า ทำให้สถานีต้อง ลอยคว้างในอวกาศควบคุมไม่ได้อีกครั้ง
1999 รัสเซียประกาศจะทิ้งสถานีอวกาศเมียร์ในปี คศ.2000 นอกจากว่าจะมีเงินทุนมาสนับสนุน  และนักบินอวกาศ  Sergei Avdeyev ทำสถิติใหม่อยู่บนสถานีอวกาศนานที่สุดคือ 747 วัน  และเดินทางกลับโลกวันที่ 27 สิงหาคม
         Sergei Avdeyev


2000 MirCorp  ซึ่งนักธุระกิจชาวอเมริกันเป็นเจ้าของ ชื่อ Dennis Tito วางโครงการจะเช่าสถานีอวกาศ เมียร์ และจะจัด space tourist สร้างโมดูลเพื่อ เชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ  และตัวเขาเองก็จะ เดินทางไปอยู่บนเมียร์ด้วย  แต่ทางการ รัสเซียแจ้งว่า MirCorp ไม่ทำตามข้อตกลง จึงประกาศจะทิ้ง สถานีอวกาศเมียร์
 

โครงสร้างของสถานีอวกาศ
    

สถานีอวกาศเมียร์ Core Module ถูกเชื่อมต่อกับโมดูลอื่นๆ อีก 6 โมดูล ได้แก่ Kvant-1,Kvant-2,Spektr,Docking port,Kristall และ Pridora  จนมีลักษณะเป็นรูปตัวที (T) ขนาด 86x96x99 ฟุต  มีน้ำหนักราว 143 ตัน ถ้ามียานสินค้ามาเชื่อมต่ออีกก็จะมีน้ำหนักถึง 154 ตัน 

 



   วาระสุดท้ายของเมียร์
 
      ในปี คศ. 1999 ทางการรัสเซียประกาศจะทำลายสถานีอวกาศเมียร์ทิ้ง โดยให้เหตุผลว่า แบกรับภาระ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานีไม่ไหว อีกทั้งต้องร่วมโครงการสถานีอวกาศนานาชาติด้วย ทำให้ขาดเงินทุน ปรับปรุง และอายุของสถานีก็นานมากทรุดโทรม และเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงบนสถานีอวกาศในปี 1997 ติดต่อกัน
       หัวหน้าองค์การอวกาศรัสเซีย Yuri Koptev  กล่าวว่า "จะไม่เป็นการปลอดภัยหากปล่อยให้เมียร์ยังอยู่ในวงโคจรต่อไป ระบบต่างๆของสถานีก็เริ่มชำรุดแล้ว"  โดยครั้งแรกวางเป้าหมายจะให้สถานีอวกาศตกบริเวณ มหาสมุทรแปซิฟิค ทางตะวันออกของทวีปออสเตเลีย ราววันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2001 แต่ก็มีการเลื่อนกำหนด
       ล่าสุดทางการรัสเซียแจ้งว่าจะให้สถานีอวกาศเมียร์กระทบโลกในวันที่ 20 มีนาคม 2001 นี้แน่นอน โดยจะทำการลดระดับความสูงของสถานีให้เหลือ 210 กิโลเมตร แล้ววันที่ 20 มีนาคม ยาน Progress จะจุดเครื่องยนต์  เพื่อลดระดับของสถานี โดยจะลงต่ำเหนือประเทศรัสเซียและจีน แล้วดิ่งหัวลงสู่ มหาสมุทรแปซิฟิค ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 45 นาทีหลังจากจุดเครื่องยนต์ครั้งสุดท้าย และคาดว่า จะมีชิ้นส่วนเมียร์แตกออกราว 1,500 ชิ้น บางส่วนจะเผาไหม้ไปในชั้นบรรยากาศ คงมีบ้างที่เหลือน้ำหนัก มากสุด 40 ตันจะถึงผิวโลก ซึ่งในงานนี้รัสเซียได้ทำวงเงินประกันไว้ 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าหากชิ้นส่วนของเมียร์ ทำความเสียหายกับประชาชน โดยมีบริษัทประกันของรัสเซียเข้าร่วมกันครั้งนี้ 3 บริษัทด้วยกัน



ภาพสุดท้ายของเมียร์
          เมียร์ตกสู่แปซิฟิกเรียบร้อย
       ถึงกาลอวสานเป็นที่เรียบร้อยโรงเรียนรัสเซีย "สถานีอวกาศเมียร์" ตกลงสู่เป้าหมายมหาสมุทร แปซิฟิกเมื่อเวลา 12.59 น.ของวันศุกร์ที่ 23 มี.ค. พศ. 2544 ตามเวลาในประเทศไทย กลายเป็นเศษชิ้นส่วนที่เห็นชัดจากเกาะฟิจิประมาณ 5-6 ชิ้น ในเวลาเพียง 10-15 วินาทีเท่านั้น ส่วนกองเรือประมงที่หาปลา อยู่แถบนั้น ปลอดภัยทุกลำ เช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่นไม่มีเหตุการณ์น่าวิตก

  ภาพการลุกไหม้ของเมียร์ถ่ายไว้ได้บนเกาะฟิจิ

       สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากเมืองโคโรลยอฟ ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 23 มี.ค.ว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุม อวกาศรัสเซีย เปิดเผยว่า สถานีอวกาศเมียร์ ซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง 15 ปี น้ำหนัก 137 ตัน ถือว่าเป็นชิ้นส่วนที่ใหญ่ที่สุด บนอวกาศที่นำกลับคืนสู่โลก ได้ตกลงมา ณ จุดที่กำหนดไว้ตามแผนการทำลายทิ้ง บนผืนน้ำของมหาสมุทรแปซิฟิก ที่เส้นลองติจูด 150 องศาตะวันตก และ เส้นละติจูด 40 องศาใต้ เหลือเป็นเศษชิ้นส่วนประมาณ 20 ตัน กระจัดกระจายไปทั่วรัศมีความยาว 1,500 กม.ของมหาสมุทรแปซิฟิก ช่วงระหว่างประเทศนิวซีแลนด์กับชิลี
       ผู้สื่อข่าวซีเอ็นเอ็นและช่างภาพของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่ไปรายงานข่าวบนเกาะฟิจิ รายงานถึงเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า เหมือนกับเป็นการแสดงที่น่าตื่นเต้น เพราะได้เห็นเศษชิ้นส่วนที่เหลือจากการลุกไหม้ขณะที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก เป็นเพียงเศษชิ้นส่วนที่มีกลุ่มควันสีขาวเป็นทางยาว ประมาณ 5-6 ชิ้น ลอยข้ามขอบฟ้า ไปทางมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนใต้ ด้วยความเร็วสูง ใช้เวลาประมาณ 10-15 วินาที จากนั้น ก็จะมีเสียงคล้ายเสียงดังโครม ที่เกิดจากเครื่องบิน เร็วเท่าความเร็วของเสียง ดังขึ้นมา 2 ครั้ง
       แม้ภารกิจครั้งนี้ของรัสเซียจะดูว่า ประสบผลสำเร็จ ตรงที่ไม่เป็นอันตราย แต่อย่างใด ในการนำสถานีอวกาศเมียร์ กลับมาสู่พื้นโลกในสภาพที่ต้องถูกทำลาย ซึ่งทั่วโลกต่างวิตกว่า อาจจะไปตกในพื้นที่ที่มีประชากรอาศัย ทำให้เป็น อันตรายได้ ดังนั้น เที่ยวบินระหว่างประเทศ 5 เที่ยวบิน ที่ต้องบินเส้นทางที่สถานีอวกาศเมียร์ จะตกลงมา จึงต้องยกเลิกเที่ยวบินไปก่อนเพื่อความปลอดภัย แต่กองเรือประมงของ หมู่เกาะอเมริกัน ซามัว ที่หาปลาทูนา ในบริเวณนั้น ก็ไม่มีลำใดได้รับอันตรายแต่อย่างใด
      นายโทนี มาร์ติน รองผู้อำนวยการสำนักงานความปลอดภัยการเดินเรือทางทะเลของนิวซีแลนด์เปิดเผยว่า กองเรือประมง 27 ลำที่หาปลาทูน่าอยู่ในบริเวณที่เศษชิ้นส่วนของสถานีอวกาศเมียร์จะตกลงมานั้น ไม่มีลำใดได้รับความเสียหายแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีรายงานแจ้งสถานการณ์ฉุกเฉิน จากกองเรือที่เดินเรืออยู่ในแถบนั้น จึงเป็นที่เชื่อได้ว่า เศษชิ้นส่วนของสถานีอวกาศตกลงมาสู่มหาสมุทรทั้งหมด โดยไม่มีส่วนใด สร้างความเสียหาย ให้กับสิ่งใดเลย ซึ่งก็ตรงกับที่เจ้าหน้าที่ของออสเตรเลียรายงาน
      ส่วนที่กรุงโตเกียว โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นแถลงว่า สถานีอวกาศเมียร์ลอยผ่านประเทศญี่ปุ่น มุ่งหน้าสู่ มหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อเวลา 12.31 น.ตามเวลาในประเทศไทย ด้วยความสูงจากพื้นโลก 163 กม. ตามเส้นทางที่คำนวณเอาไว้ โดยไม่มีรายงานความผิดปรกติ หรือ เศษชิ้นส่วนของสถานีอวกาศเมียร์ ตกลงมาในดินแดนของประเทศญี่ปุ่นแต่อย่างใด ทั้งที่เมื่อวันก่อน รัฐบาลญี่ปุ่นได้มีคำเตือนถึงชาวเกาะโอกินาวา ขอให้อยู่แต่ภายในที่พักอาศัยเท่านั้น เพราะอาจจะได้รับอันตรายจากเศษชิ้นส่วนของสถานีอวกาศ
       ด้านนายสนธยา คุณปลื้ม รมว.วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ทั่วโลกสนใจเรื่อง สถานีอวกาศเมียร์ ตกลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก เช่นการติดเชื้อโรคจากอวกาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ในทางวิทยาศาสตร์ สามารถคาดการณ์และเตรียมการในเรื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เรื่องนี้สามารถกระตุ้นให้ทั่วโลกสนใจเรื่องอวกาศ ในส่วนของนักวิทยาศาสตร์ไทย สิ่งที่จะได้ประโยชน์คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งได้มีการตั้งสำนักงาน พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา และจะค่อยๆพัฒนาต่อไป เพราะต้องใช้เงินลงทุน ด้านนี้สูงมาก
       ดร.สุวิทย์ วิบูลย์เศรษฐ์ ผอ.สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กล่าวว่า คงต้องติดตามว่าเทคโนโลยีอวกาศของต่างประเทศทำไปถึงไหน เพื่อที่จะนำมาใช้ประโยชน์ และในระยะยาว จะมีการผลักดันให้มีโครงการที่จะให้นักบินอวกาศ ของไทยร่วมอยู่ในโครงการอวกาศของประเทศต่างๆด้วย เพื่อให้มีส่วนร่วมในการศึกษาและวิจัย ส่วนจะสานต่อโครงการสร้างดาวเทียมขนาดเล็กหรือไม่ ขึ้นอยู่กับนโยบาย และงบประมาณของรัฐบาล แต่นักวิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของไทยส่วนใหญ่ อยากให้เกิดขึ้น เพราะเป็นประโยชน์มาก

http://www.darasart.com/spacestation/mir/main.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น