วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความรุนแรงของแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ส่งแรงสั่นสะเทือนและมีผลกระทบไปในบริเวณกว้างและไกล ไม่เฉพาะบริเวณที่เป็นศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว และหากเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่สามารถส่งแรงสั่นสะเทือนไปได้หลายพันกิโลเมตร ดังนั้นหลายประเทศจึงได้มีการตรวจวัดแผ่นดินไหวในระบบเครือข่ายทั้งในระดับประเทศและเครือข่ายระดับโลก เพื่อวิเคราะห์ตำแหน่ง ขนาดและเวลาเกิดแผ่นดินไหว โดยประเทศไทยเริ่มมีการตรวจแผ่นดินไหวเมื่อปี 2526 และสถานีตรวจแผ่นดินไหวแห่งแรกของกรมอุตุนิยมวิทยา ณ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมกับเข้าร่วมเป็นเครือข่ายระบบมาตรฐานโลก (Worldwide Standardized Seismograph Network: WWSSN) ซึ่งขนาดและความรุนแรงของการเกิดแผ่นดินไหวจะมีหน่วยเป็น “มาตราริคเตอร์” และ “มาตราเมอร์แคลลี่”’
ความรุนแรงของแผ่นดินไหวสามารถวัดได้ทั้งขณะเกิดและหลังเกิด คนอาจจะรู้สึกได้ถึงการเกิดแผ่นดินไหว มีอาคารเสียหายหรือมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยขนาดและความสัมพันธ์โดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้จุดศูนย์กลางตามมาตราริคเตอร์ แบ่งได้เป็น 5 ช่วง คือ
  • ความรุนแรง 1.0-2.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงอาการสั่นไหว บางครั้งรู้สึกเวียนศีรษะ
  • ความรุนแรง 3.0-3.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน
  • ความรุนแรง 4.0-4.9 เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคารและนอกอาคาร รู้สึกถึงการสั่นสะเทือน วัตถุที่ห้อยแขวนมีการแกว่งไปมา
  • ความรุนแรง 5.0-5.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
  • ความรุนแรง 6.0-6.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
  • ความรุนแรง 7.0 ขึ้นไป เกิดการสั่นไหวอย่างร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างได้รับความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินเกิดการแยกตัว วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น

ส่วนลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบตามมาตราแคลลี่อันดับที่ แบ่งเป็น 12 ระดับ ดังนี้
  • ความรุนแรงระดับ 1 เป็นอันดับอ่อนมาก ความสั่นสะเทือนสามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือ
  • ความรุนแรงระดับ 2 คนที่อยู่ในอาคารสูงและอยู่นิ่ง ๆ สามารถรู้สึกได้
  • ความรุนแรงระดับ 3 คนที่อยู่ในบ้านสามารถรู้สึกได้
  • ความรุนแรงระดับ 4 ผู้ที่อยู่ในบ้านรู้สึกว่าบ้านสั่นไหว
  • ความรุนแรงระดับ 5 รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว
  • ความรุนแรงระดับ 6 ทุกคนรู้สึกถึงการสั่นไหว ของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว
  • ความรุนแรงระดับ 7 ผู้คนตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฏความเสียหาย
  • ความรุนแรงระดับ 8 อาคารธรรมดาได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก
  • ความรุนแรงระดับ 9 สิ่งก่อสร้างที่ได้รับการออกแบบไว้เป็นอย่างดีได้รับความเสียหายมาก
  • ความรุนแรงระดับ 10 อาคารพัง รางรถไฟบิดงอ
  • ความรุนแรงระดับ 11 อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบนพื้นดินอ่อน

ธรณีพิบัติภัย

การเกิดแผ่นดินไหวถือเป็นมหันตภัยที่มนุษย์ยังไม่สามารถป้องกันได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิตของผู้คนจำนวนมาก โดยล่าสุดเพิ่งเกิดขึ้นที่มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน และทำให้ผู้คนล้มตายและสูญหายเป็นจำนวนหลายหมื่นคน ส่วนในประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันตก เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ราชบุรี และกรณีของการเกิดแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางอยู่ในประเทศพม่าส่งผลให้เจดีย์ของพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่เกิดรอยร้าว และเจดีย์วัดพระธาตุจอมกิตติ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายหักเสียหายลงมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น