| |||
| |||
| |||
| |||
| |||
| |||
| |||
| |||
| |||
วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555
10 อันดับ อาหารยอดฮิตของนักบินอวกาศ
วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555
การลดลงของโอโซน
การลดลงของโอโซน (Ozone Depletion)
โอโซน (O3) เป็นก๊าซซึ่งประกอบด้วยธาตุออกซิเจนจำนวน 3 โมเลกุล มีอยู่เพียง 0.0008% ในบรรยากาศ แต่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเกาะป้องกันรังสีอุลตราไวโอเล็ต (UV) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก โอโซนไม่ใช่ก๊าซที่มีเสถียรภาพสูง มันมีอายุอยู่ในอากาศได้เพียง 20 - 30 สัปดาห์แล้วสลายตัว โอโซนเกิดจากก๊าซออกซิเจน (O2) ดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตแล้วแตกตัวเป็นออกซิเจนอะตอมเดี่ยว (O) จากนั้นออกซิเจนอะตอมเดี่ยวรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนและโมเลกุลชนิดอื่น (M) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลาง แล้วให้ผลผลิตเป็นก๊าซโอโซนออกมา ตามตารางที่ 1
ก๊าซโอโซนมีความสามารถดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ต แต่จะสลายตัวเมื่อกระทบกับแสงแดด (visible light) เกิดเป็นก๊าซออกซิเจนและออกซิเจนอะตอมเดี่ยว และเมื่อออกซิเจนเดี่ยวรวมตัวกับก๊าซโอโซนอีกครั้ง จะให้ผลผลิตเป็นก๊าซออกซิเจนออกมา ตามตารางที่ 2
เมื่อเปรียบเทียบตารางที่ 1 และ 2 จะพบว่าก๊าซโอโซนสลายตัวได้รวดเร็วกว่าก๊าซออกซิเจน และการสร้างก๊าซโอโซนให้เกิดขึ้นนั้นจำเป็นต้องอาศัยโมเลกุลของธาตุชนิดอื่นด้วย ดังนั้นปริมาณของก๊าซโอโซนในอากาศจึงขึ้นอยู่กับอัตราการผลิตซึ่งมากกว่าอัตราการเสื่อมสลาย
บทบาทของก๊าซโอโซน
ก๊าซโอโซนมีสองบทบาทคือ เป็นทั้งพระเอกและผู้ร้ายในตัวเดียวกันขึ้นอยู่ว่าวางตัวอยู่ที่ใด โอโซนเป็นก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และมีคุณสมบัติเป็นก๊าซเรือนกระจกดูดกลืนรังสีอินฟราเรดทำให้บรรยากาศมีอุณหภูมิสูง และดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เราแบ่งก๊าซโอโซนเป็น 2 บทบาท คือ
โอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere Ozone) เกิดจากการเผาไหม้มวลชีวภาพ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเครื่องยนต์ เครื่องจักร และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปะปนอยู่ในหมอกควัน เมื่อโอโซนอยู่ในบรรยากาศชั้นล่างหรือเหนือพื้นผิว มันจะให้โทษมากกว่าให้คุณ เนื่องจากเป็นพิษต่อร่างกาย ดังนั้นคำพูดที่ว่า “ออกไปสูดโอโซนให้สบายปอด” จึงเป็นความเข้าใจผิด
โอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere Ozone) ในธรรมชาติโอโซนที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวมีเพียง 10% โอโซนส่วนใหญ่ในชั้นสตราโตสเฟียร์รวมตัวเป็นชั้นบางๆ ที่ระยะสูงประมาณ 20 – 30 กิโลเมตร ทำหน้าที่กรองรังสีอุลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ออกไป 99% ก่อนถึงพื้นโลก หากร่างกายมนุษย์ได้รับรังสีนี้มากเกินไป จะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ส่วนจุลินทรีย์ขนาดเล็ก เช่น แบคทีเรีย จะถูกฆ่าตาย
สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC)
สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอนเรียกสั้นๆ ว่า “สาร CFC” หรืออีกชื่อหนึ่ง “ฟรีออน” (Freon) เป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ มิได้เกิดเองตามธรรมชาติ หากแต่มีแหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และสเปรย์ สาร CFC มีองค์ประกอบเป็น คลอรีน ฟลูออไรด์ และโบรมีน ซึ่งมีความสามารถในการทำลายโอโซน ตามปกติสาร CFC ในบริเวณพื้นผิวโลกจะทำปฏิกิริยากับสารอื่น แต่เมื่อมันดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ โมเลกุลจะแตกตัวให้คลอรีนอะตอมเดี่ยว และทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน เกิดก๊าซคลอรีนโมโนออกไซด์ (ClO) และก๊าซออกซิเจน ดังตารางที่ 3
ก๊าซโอโซนมีสองบทบาทคือ เป็นทั้งพระเอกและผู้ร้ายในตัวเดียวกันขึ้นอยู่ว่าวางตัวอยู่ที่ใด โอโซนเป็นก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และมีคุณสมบัติเป็นก๊าซเรือนกระจกดูดกลืนรังสีอินฟราเรดทำให้บรรยากาศมีอุณหภูมิสูง และดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เราแบ่งก๊าซโอโซนเป็น 2 บทบาท คือ
โอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere Ozone) เกิดจากการเผาไหม้มวลชีวภาพ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเครื่องยนต์ เครื่องจักร และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปะปนอยู่ในหมอกควัน เมื่อโอโซนอยู่ในบรรยากาศชั้นล่างหรือเหนือพื้นผิว มันจะให้โทษมากกว่าให้คุณ เนื่องจากเป็นพิษต่อร่างกาย ดังนั้นคำพูดที่ว่า “ออกไปสูดโอโซนให้สบายปอด” จึงเป็นความเข้าใจผิด
โอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere Ozone) ในธรรมชาติโอโซนที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวมีเพียง 10% โอโซนส่วนใหญ่ในชั้นสตราโตสเฟียร์รวมตัวเป็นชั้นบางๆ ที่ระยะสูงประมาณ 20 – 30 กิโลเมตร ทำหน้าที่กรองรังสีอุลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ออกไป 99% ก่อนถึงพื้นโลก หากร่างกายมนุษย์ได้รับรังสีนี้มากเกินไป จะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ส่วนจุลินทรีย์ขนาดเล็ก เช่น แบคทีเรีย จะถูกฆ่าตาย
สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC)
สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอนเรียกสั้นๆ ว่า “สาร CFC” หรืออีกชื่อหนึ่ง “ฟรีออน” (Freon) เป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ มิได้เกิดเองตามธรรมชาติ หากแต่มีแหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และสเปรย์ สาร CFC มีองค์ประกอบเป็น คลอรีน ฟลูออไรด์ และโบรมีน ซึ่งมีความสามารถในการทำลายโอโซน ตามปกติสาร CFC ในบริเวณพื้นผิวโลกจะทำปฏิกิริยากับสารอื่น แต่เมื่อมันดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ โมเลกุลจะแตกตัวให้คลอรีนอะตอมเดี่ยว และทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน เกิดก๊าซคลอรีนโมโนออกไซด์ (ClO) และก๊าซออกซิเจน ดังตารางที่ 3
ถ้าหากคลอรีนจำนวน 1 อะตอมทำลายก๊าซโอโซน 1 โมเลกุล ได้เพียงครั้งเดียวก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ทว่าคลอรีน 1 อะตอม สามารถทำลายก๊าซโอโซน 1 โมเลกุลได้นับพันครั้ง เนื่องจากเมื่อคลอรีนโมโนออกไซด์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนอะตอมเดี่ยว แล้วเกิดคลอรีนอะตอมเดี่ยวขึ้นอีกครั้ง ปฏิกิริยาลูกโซ่เช่นนี้จึงเป็นการทำลายโอโซนอย่างต่อเนื่อง ดังที่แสดงในภาพที่ 1
ภาพที่ 1 การทำลายโอโซนของสาร CFC
การลดลงของโอโซน
นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์คติก บริเวณขั้วโลกใต้ เกิดขึ้นจากกระแสลมพัดคลอรีนเข้ามาสะสมในก้อนเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ ในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤษภาคม – กันยายน (ขั้วโลกเหนือไม่มีเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ เนื่องจากอุณหภูมิไม่ต่ำพอที่จะทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำในอากาศ) เมื่อถึงเดือนตุลาคม ซึ่งแสงอาทิตย์กระทบเข้ากับก้อนเมฆ ทำให้คลอรีนอะตอมอิสระแยกตัวออกและทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน ทำให้เกิดรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซน ซึ่งเรียกว่า “รูโอโซน” (Ozone hole) ดังในภาพที่ 2 แสดงถึงความหนาแน่นของชั้นโอโซน (มีหน่วยเป็นด๊อบสัน) จะเห็นว่า ชั้นโอโซนในปี พ.ศ.2541 มีความบางกว่าเมื่อปี พ.ศ.2522
ภาพที่ 2 การลดลงของโอโซน (ที่มา: NASA)
การเกิดปรากฏการณ์รูโอโซนเป็นอันตรายมากต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่เบื้องล่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดขึ้นเหนือเมืองใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น นานาชาติจึงทำความร่วมมือภายใต้ “ข้อตกลงมอลทรีออล” (Montreal Protocol) ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ในปลายศตวรรษที่แล้ว ในการยกเลิกการใช้สาร CFC ในอุตสาหกรรม และใช้สารชนิดอื่นที่ไม่ทำลายโอโซนแทน แต่อย่างไรก็ตามสาร CFC ก็ยังคงลอยตกค้างอยู่ในบรรยากาศ อีกหลายทศวรรษกว่าจะสลายตัวไป
วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ความรุนแรงของแผ่นดินไหว
- ความรุนแรง 1.0-2.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงอาการสั่นไหว บางครั้งรู้สึกเวียนศีรษะ
- ความรุนแรง 3.0-3.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน
- ความรุนแรง 4.0-4.9 เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคารและนอกอาคาร รู้สึกถึงการสั่นสะเทือน วัตถุที่ห้อยแขวนมีการแกว่งไปมา
- ความรุนแรง 5.0-5.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่
- ความรุนแรง 6.0-6.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย
- ความรุนแรง 7.0 ขึ้นไป เกิดการสั่นไหวอย่างร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างได้รับความเสียหายอย่างมาก แผ่นดินเกิดการแยกตัว วัตถุที่อยู่บนพื้นถูกเหวี่ยงกระเด็น
ส่วนลักษณะความรุนแรงโดยเปรียบเทียบตามมาตราแคลลี่อันดับที่ แบ่งเป็น 12 ระดับ ดังนี้
- ความรุนแรงระดับ 1 เป็นอันดับอ่อนมาก ความสั่นสะเทือนสามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องมือ
- ความรุนแรงระดับ 2 คนที่อยู่ในอาคารสูงและอยู่นิ่ง ๆ สามารถรู้สึกได้
- ความรุนแรงระดับ 3 คนที่อยู่ในบ้านสามารถรู้สึกได้
- ความรุนแรงระดับ 4 ผู้ที่อยู่ในบ้านรู้สึกว่าบ้านสั่นไหว
- ความรุนแรงระดับ 5 รู้สึกเกือบทุกคน ของในบ้านเริ่มแกว่งไกว
- ความรุนแรงระดับ 6 ทุกคนรู้สึกถึงการสั่นไหว ของหนักในบ้านเริ่มเคลื่อนไหว
- ความรุนแรงระดับ 7 ผู้คนตกใจ สิ่งก่อสร้างเริ่มปรากฏความเสียหาย
- ความรุนแรงระดับ 8 อาคารธรรมดาได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก
- ความรุนแรงระดับ 9 สิ่งก่อสร้างที่ได้รับการออกแบบไว้เป็นอย่างดีได้รับความเสียหายมาก
- ความรุนแรงระดับ 10 อาคารพัง รางรถไฟบิดงอ
- ความรุนแรงระดับ 11 อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลายเกือบทั้งหมด ผิวโลกปูดนูนและเลื่อนเป็นคลื่นบนพื้นดินอ่อน
วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555
แผ่นเปลือกโลก
โลกเป็นดาวเคราะห์ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งส่วน ที่เป็นบรรยากาศห่อหุ้มโลกและส่วนที่ประกอบอยู่ภายในของโลก อันเป็นผลมาจากอิทธิพลของการหมุนของโลกรอบดวงอาทิตย์ และรอบตัวเอง รวมไปถึงการที่โลกยังร้อนอยู่ภายในมีทฤษฎีหลายทฤษฎี ที่อธิบายถึงการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก | ||||||||||||||||||
ทฤษฎีการเคลื่อนที่
| ||||||||||||||||||
ทฤษฎีวงจรการพาความร้อน (Convection current theory) กล่าวไว้ว่าการหมุนเวียนของกระแสความร้อนภายในโลก มีลักษณะเช่นเดียวกับการเดือดของน้ำในแก้ว กล่าวคือโลกส่งผ่านความร้อนจากแก่นโลกขึ้นมาสู่ชั้นแมนเทิล ซึ่งมีลักษณะเป็นของไหลที่มีสถานะกึ่งแข็งกึ่งเหลว และผลักดันให้สารในชั้นนี้หมุนเวียนจากส่วนล่างขึ้นไปสู่ส่วนบนส่งผลให้เปลือกโลกซึ่งเป็นของแข็งปิดทับอยู่บนสุดเกิดการแตกเป็นแผ่น (Plate) และเคลื่อนที่ในลักษณะเข้าหากัน แยกออกจากกัน และไถลตัวขนานออกจากกัน | ||||||||||||||||||
การไหลเวียนของกระแสความร้อนภายในโลก
| ||||||||||||||||||
ทฤษฎีทวีปเลื่อน(Continental Drift Theorly) ในปี ค.ศ.1915 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ alfred Wegenerได้เสนอสมมติฐานทวีปเลื่อนขึ้น และได้รับการยอมรับในปี ค.ศ.1940 สมมติฐานกล่าวไว้ว่า เมื่อราว 250 ล้านปีก่อน ทวีปต่าง ๆ เคยติดกันเป็นทวีปขนาดใหญ่เรียกว่า พันเจีย (Pangea) ต่อมามีการเคลื่อนตัวแยกออกจากกัน จนมาอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน หลักฐานที่เชื่อว่าแผ่นทวีปเคลื่อนที่นี้คือ ในปัจจุบันได้พบชนิดหิน ที่เกิดในสภาวะแวดล้อมเดียวกันแต่อยู่คนละทวีปซึ่งห่างไกลกันมากหินอายุเดียวกัน ที่อยู่ต่างทวีปกันมีรูปแบบสนามแม่เหล็กโลกโบราณคล้ายคลึงกัน และขอบของทวีปสามารถเชื่อมตัวประสานแนบสนิทเข้าด้วยกันได้ ทฤษฎีเปลือกโลกใต้มหาสมุทรแยกตัว (Sea Floor Spreading Theory) จากปรากฎการณ์การแตกตัวและแยกออกจากกันของแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีปและใต้มหาสมุทรสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว การเกิดหมู่เกาะภูเขาไฟ การเกิดแนวเทือกเขากลางมหาสมุทร การขยายตัว และการเกิดใหม่ของมหาสมุทร ทำให้เกิดสมมติฐานและกลายเป็นทฤษฎีนี้ขึ้นเพื่ออธิบายปรากฎการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นและการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกต่าง ๆ | ||||||||||||||||||
ขอบเขตและการกระจายตัวของแผ่นเปลือกโลก
| ||||||||||||||||||
ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก(plate Tectonic Theory) เกิดจากการนำทฤษฎีทวีปเลื่อนและทวีปแยกมารวมกันตั้งเป็นทฤษฎีใหม่ขึ้นมาโดยกล่าวไว้ว่าเปลือกโลกทั้งหมดแบ่งออกเป็นแผ่นที่สำคัญ จำนวน 13 แผ่น โดยแต่ละแผ่นจะมีขอบเขตเฉพาะได้แก่ แผ่นอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยูเรเซีย แอฟริกา อินเดีย แปซิฟิก แอนตาร์กติก ฟิลิปปินส์ อาหรับ สกอเทีย โกโก้ แคริเบียน และนาซก้าแผ่นเปลือกโลกทั้งหมดไม่หยุดหนิ่งอยู่กับที่จะมีการเ เคลื่อนที่ตลอดเวลาใน 3 แบบ ได้แก่การเคลื่อนที่เข้าหากัน แยกออกจากกัน และไถลตัวขนานออกจากกันซึ่งผลของการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกทำให้เกิดปรากฎการณ์ต่าง ๆ ขึ้น เช่น แผ่นดินไหว เทีอกเขา ภูเขาไฟ และกระบวนการเกิดแร่และหิน | ||||||||||||||||||
ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก | ||||||||||||||||||
|
http://58.137.128.181/ewtadmin/ewt/dmr_web/main.php?filename=earth_move
วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555
SQL
เอสคิวแอล (SQL)
เอสคิวแอล (SQL) คือ ภาษาสอบถามข้อมูล หรือภาษาจัดการข้อมูลอย่างมีโครงสร้าง มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมฐานข้อมูลที่รองรับมากมาย เพราะจัดการข้อมูลได้ง่าย เช่น MySQL, MsSQL, PostgreSQL หรือ MS Access เป็นต้น สำหรับโปรแกรมฐานข้อมูลที่ได้รับความนิยมคือ MySQL เป็น Open Source ที่ใช้งานได้ทั้งใน Linux และ WindowsSQL เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เพื่อจัดการกับฐานข้อมูลโดยเฉพาะ เราสามารถแบ่งการทำงานได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. Select query ใช้สำหรับดึงข้อมูลที่ต้องการ2. Update query ใช้สำหรับแก้ไขข้อมูล
3. Insert query ใช้สำหรับการเพิ่มข้อมูล
4. Delete query ใช้สำหรับลบข้อมูลออกไป
Select query
ใช้ในการดึงข้อมูลในฐานข้อมูล จะมีการค้นหารายการจากตารางในฐานข้อมูล ตั้งแต่หนึ่งตารางขึ้นไป ตามเงื่อนไขที่สั่ง ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเซตของข้อมูลที่สามารถสร้าง เป็นตารางใหม่ หรือใช้แสดงออกมาทางจอภาพเท่านั้น โดยมีรูปแบบดังนี้Select รายละเอียดที่เลือก From ตารางแหล่งที่มา Where กำหนดเงื่อนไขฐานข้อมูลที่เลือก Group by ชื่อคอลัมน์
ตัวอย่างการใช้งาน
1. Select fmane,lname From stdinfoหมายถึง ให้แสดงเฉพาะคอลัมน์ fname คือ ชื่อ และคอลัมน์ lname คือ นามสกุล จากตาราง stdinfo
2. Select fname,lname From stdinfo Where programe=”สังคมศึกษา”
หมายถึง ให้แสดงชื่อ และนามสกุลจากตาราง stdinfo ซึ่งมีโปรแกรมวิชาเป็นสังคมศึกษา
3. Select fname From stdinfo Where fname Like ‘ส%’
หมายถึง ให้เลือกรายชื่อ นักศึกษาที่มีอักษรนำหน้าเป็น “ส” ขึ้นมาแสดงทั้งหมด
4. Select id,fname,lname From stdinfo Where id=”001” AND id=”005”
หมายถึง ให้แสดง รหัสประจำตัวนักศึกษา ,ชื่อ และ นามสกุล ที่มีรหัสเป็น 001 และ 005
ข้อสังเกต
1. ประโยคย่อย WHERE เราสามารถระบุเงื่อนไขได้โดยใช้โอเดปอร์เรเตอร์ ทั้วไป เช่น NOT < > = กรณีที่คอลัมน์เป็นตัวเลข เราก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เป็นการคำนวนได้เช่น +,-,*,/2. คำว่า Like ใช้กับค่าในคอลัมน์ประเภทตัวอักษรว่าตรงกับประโยคที่ต้องการหรือไม่ เราสามารถใช้เครื่องหมาย widecard เช่น *,??,% ในประโยคได้ ตามตัวอย่างข้างต้น
3. ในการคำนวนนั้นมีฟังก์ชัน COUNT,SUM,AVG.MIN,MAX ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ เช่น
Select Count(id) From stdinfo
หมายถึง ให้แสดงจำนวนรายการทั้งหมดในตาราง
4. ในกรณีที่ตารางสองตารางมีความสัมพันธ์กัน เราก็สามารถดูข้อมูลทั้งสองตารางพร้อมกันได้ เช่น ตารางที่ 1 ข้อมูลนักศึกษาชื่อ stdinfo
กำหนดให้มีคอลัมน์รหัสประจำตัว (id) ,ชื่อ (fname), นามสกุล (lname)
ตารางที่ 2 ขอมูลเกี่ยวกับวิชาที่เรียน ชื่อ substd
กำหนดให้มีคอลัมน์ชื่อวิชา (subject), รหัสประจำตัวอ้างอิง (rid) ,อาจารย์ผู้สอน (teacher)
เราต้องการดูข้อมูลรหัสประจำตัว ชื่อ นามสกุล และชื่อวิชาที่เรียน เราจะใช้คำสั่งดังนี้
Select stdinfo.id, stdinfo.fname,stdinfo.lname,substd.subject From stdinfo,substd Where stdinfo.id=substd.rid
Update query
ใช้สำหรับการแก้ไขข้อมูลในตาราง โดยแก้ในคอลัมน์ที่มีค่าตรงตามเงื่อนไข มีรูปแบบดังนี้Update ชื่อตาราง Set [ชื่อคอลัมน์=ค่าที่จะใส่เข้าไปในคอลัมน์นั้น ๆ ] Where เงื่อนไข
เช่น จากตารางแสดงรายชื่อนักศึกษากรณีที่นักศึกษาชื่อ สมบัติ มักน้อย ย้ายโปรแกรมวิชา จาก สังคมศึกษา ไปเป็นภาษาไทย เราใช้คำสั่งดังนี้
Select stdinfo Set programe=’ภาษาไทย’ Where Fname=’สมบัติ’ and Lname=’มักน้อย’
Insert query
ใช้ในการเพิ่มเติมข้อมูลใหม่ ๆ เข้าไปในฐานข้อมูล มีรูปแบบดังนี้Insert Into ชื่อตาราง [=ชื่อคอลัมน์1,2..] Values [ค่าที่จะใส่ลงในคอลัมน์ 1,2…]
เช่น ต้องการเพิ่มรายชื่อนักศึกษา ที่มีรหัสประจำตัวเป็น 007 ชื่อ กมลวรรณ ศิริกุล โปรแกรมวิชา วิทยาศาสตร์ เราสามารถใช้คำสั่งดังนี้
Insert into stdinfo (id,fname,lname,programe) Values (‘007’,’กมลวรรณ’,’ศิริกุล’,’ วิทยาศาสตร์’)
Delete query
ใช้ลบข้อมูลออกจากตาราง มีรูปแบบดังนี้Delete From ชื่อตาราง Where เงื่อนไข
เช่น ต้องการลบรหัสประจำตัวนักศึกษา 005 ออกจากฐานข้อมูล เราใช้คำสั่งดังนี้
Delete From stdinfo Where id=’005’
MySQL (มายเอสคิวแอล)
MySQL (มายเอสคิวแอล) เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลโดยใช้ภาษา SQL. แม้ว่า MySQL เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส แต่แตกต่างจากซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั่วไป โดยมีการพัฒนาภายใต้บริษัท MySQL AB ในประเทศสวีเดน โดยจัดการ MySQL ทั้งในแบบที่ให้ใช้ฟรี และแบบที่ใช้ในเชิงธุรกิจMySQL สร้างขึ้นโดยชาวสวีเดน 2 คน และชาวฟินแลนด์ ชื่อ David Axmark, Allan Larsson และ Michael “Monty” Widenius.
ปัจจุบันบริษัทซันไมโครซิสเต็มส์ (Sun Microsystems, Inc.) เข้าซื้อกิจการของ MySQL AB เรียบร้อยแล้ว ฉะนั้นผลิตภัณฑ์ภายใต้ MySQL AB ทั้งหมดจะตกเป็นของซัน
ชื่อ “MySQL” อ่านออกเสียงว่า “มายเอสคิวเอล” หรือ “มายเอสคิวแอล” (ในการอ่านอักษร L ในภาษาไทย) ซึ่งทางซอฟต์แวร์ไม่ได้อ่าน มายซีเควล หรือ มายซีควล เหมือนกับซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลตัวอื่น
การใช้งาน
MySQL เป็นที่นิยมใช้กันมากสำหรับฐานข้อมูลสำหรับเว็บไซต์ เช่น มีเดียวิกิ และ phpBB และนิยมใช้งานร่วมกับภาษาโปรแกรม PHP ซึ่งมักจะได้ชื่อว่าเป็นคู่ จะเห็นได้จากคู่มือคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่จะสอนการใช้งาน MySQL และ PHP ควบคู่กันไป นอกจากนี้ หลายภาษาโปรแกรมที่สามารถทำงานร่วมกับฐานข้อมูล MySQL ซึ่งรวมถึง ภาษาซี ซีพลัสพลัส ปาสคาล ซีชาร์ป ภาษาจาวา ภาษาเพิร์ล พีเอชพี ไพทอน รูบี และภาษาอื่น ใช้งานผ่าน API สำหรับโปรแกรมที่ติดต่อผ่าน ODBC หรือ ส่วนเชื่อมต่อกับภาษาอื่น (database connector) เช่น เอเอสพี สามารถเรียกใช้ MySQL ผ่านทาง MyODBC,ADO,ADO.NET เป็นต้นhttp://www.choosak.com/page-29/
วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ทรัพยากรน้ำ
โลกของเราประกอบขึ้นด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยส่วนที่เป็นฝืนน้ำนั้น มีอยู่ประมาณ 3 ส่วน (75%) และเป็นพื้นดิน 1 ส่วน (25%) น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของพืชและสัตว์บนโลกรวมทั้งมนุษย์เราด้วย
น้ำเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลก น้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบนเนื่องจากไอน้ำมีความเบากว่าอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเฆม เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีกเมื่อได้รับความร้อนจากดวงทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำกระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา เรียกว่า วัฏจักรน้ำทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่สม่ำเสมอ
ประโยชน์ของน้ำ
น้ำเป็นแหล่งกำเนิดชีวิตของสัตว์และพืชคนเรามีชีวิตอยู่โดยขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วัน และน้ำยังมีความจำเป็นทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ประโยชน์ของน้ำ ได้แก่
§ น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่เราใช้สำหรับการดื่มกิน การประกอบอาหาร ชำระร่างกาย ฯลฯ
§ น้ำมีความจำเป็นสำหรับการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งคนเราใช้เป็นอาหาร
§ ในการอุตสาหกรรม ต้องใช้น้ำในขบวนการผลิตใช้ล้างของเสียใช้หล่อเครื่องจักรและระบายความร้อน ฯลฯ
§ การทำนาเกลือโดยการระเหยน้ำเค็มจากทะเล
§ น้ำเป็นแหล่งพลังงาน พลังงานจากน้ำใช้ทำระหัด ทำเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าได้
§ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สำคัญ
§ ทัศนียภาพของริมฝั่งทะเลและน้ำที่ใสสะอาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของมนุษย์
ปัญหาของทรัพยากรน้ำ
ปัญหาสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้น คือ
1. ปัญหาการมีน้ำน้อยเกินไป เกิดการขาดแคลนอันเป็นผลเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ปริมาณน้ำฝนน้อยลง เกิดความแห้งแล้งเสียหายต่อพืชเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์
2. ปัญหาการมีน้ำมากเกินไป เป็นผลมาจากการตัดไม้มากเกินไป ทำให้เกิดน้ำท่วมไหลบ่าในฤดูฝน สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
3. ปัญหาน้ำเสีย เป็นปัญหาใหม่ในปัจจุบัน สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเสีย ได้แก่
- น้ำทิ้งจากบ้านเรือน ขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูลที่ถูกทิ้งสู่แม่น้ำลำคลอง
- น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
- น้ำฝนพัดพาเอาสารพิษที่ตกค้างจากแหล่งเกษตรกรรมลงสู่แม่น้ำลำคลอง
น้ำเสียที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลเสียหายทั้งต่อสุขภาพอนามัย เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และมนุษย์ ส่งกลิ่นเหม็น รบกวน ทำให้ไม่สามารถนำแหล่งน้ำนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม
ผลกระทบของน้ำเสียต่อสิ่งแวดล้อม
- เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค บิด ท้องเสีย
- เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรคต่าง ๆ
- ทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อดิน น้ำ และอากาศ
- ทำให้เกิดเหตุรำคาญ เช่น กลิ่นเหม็นของน้ำโสโครก
- ทำให้เกิดการสูญเสียทัศนียภาพ เกิดสภาพที่ไม่น่าดู เช่น สภาพน้ำที่มีสีดำคล้ำไปด้วยขยะ และสิ่งปฎิกูล
- ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น การสูญเสียพันธุ์ปลาบางชนิดจำนวนสัตว์น้ำลดลง
- ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศในระยะยาว
การอนุรักษ์น้ำ
ดังได้กล่าวมาแล้วจะเห็นว่า น้ำมีความสำคัญและมีประโยชน์มหาศาล เราจึงควรช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเสียหรือการสูญเสียทรัพยากรน้ำด้วยการอนุรักษ์น้ำ ดังนี้
1. การใช้น้ำอย่างประหยัด การใช้น้ำอย่างประหยัดนอกจากจะลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าน้ำลงได้แล้ว ยังทำให้ปริมาณน้ำเสียที่จะทิ้งลงแหล่งน้ำมีปริมาณน้อย และป้องกันการขาดแคลนน้ำได้ด้วย
2. การสงวนน้ำไว้ใช้ ในบางฤดูหรือในสภาวะที่มีน้ำมากเหลือใช้ควรมีการเก็บน้ำไว้ใช้ เช่น การทำบ่อเก็บน้ำ การสร้างโอ่งน้ำ ขุดลอกแหล่งน้ำ รวมทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำ และระบบชลประทาน
3. การพัฒนาแหล่งน้ำ ในบางพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ จำเป็นที่จะต้องหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถมีน้ำไว้ใช้ ทั้งในครัวเรือนและในการเกษตรได้อย่างพอเพียง ปัจจุบันการนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้กำลังแพร่หลายมากขึ้นแต่อาจมีปัญหาเรื่องแผ่นดินทรุด
4. การป้องกันน้ำเสีย การไม่ทิ้งขยะและสิ่งปฎิกูลและสารพิษลงในแหล่งน้ำ น้ำเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล ควรมีการบำบัดและขจัดสารพิษก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
5. การนำน้ำเสียกลับไปใช้ น้ำที่ไม่สามารถใช้ได้ในกิจการอย่างหนึ่งอาจใช้ได้ในอีกกิจการหนึ่ง เช่น น้ำทิ้งจากการล้างภาชนะอาหาร สามารถนำไปรดต้นไม้ได้
วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555
หน้าที่ 1 - 10 อันดับเมฆที่หาดูได้ยาก
กลุ่มเมฆรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนมีลักษณะต่างๆและเกิดแสงกระทบกัน เหมือนแมงกะพรุน ม้วนเป็นคลื่นขนาดใหญ่ จานยูเอฟโอ และอื่นๆ
เมฆกลุ่มนี้คือจะเป็นพุ่มๆเหมือนแมงกะพรุน เกิดจากลมที่ชื้นๆจากกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม มาเจอกับอากาศแห้งๆ
อันดับ 9 Nacreous
เมฆ นี้เรียกได้ว่าเป็นไข่มุกแห่งเมฆาเลยทีเดียว เพราะสีนวลตาและหลากสี ทำให้เพลินตาดี ซึ่งจะพบได้ที่แถบใกล้ๆขั้วโลกเช่นสแกนดิเนเวียตอนช่วงหน้าหนาว เวลาเย็นๆที่แสงอาทิตย์ส่องผ่าน เป็นเวลา 2 ชั่วโมงเท่านั้นที่เราจะเห็นแบบนี้
อันดับ 8 Mammatus Clouds
เมฆ ลักษณะแบบเป็นกระเปาะยื่นลงมา คนทั่วไปมักจะนึกว่าเดี๋ยวจะมีพายุเข้ามารึเปล่าหว่า จริงๆแล้ว เมฆนีไม่ใช่สัญญาณเตือนอันตรายแต่อย่างใด แต่มักเกิดขึ้นหลังจากที่พายุทอร์นาโดพ้นผ่านไปแล้วต่างหากล่ะ
อันดับ 7 Mushroom Clouds
เมฆแบบนี้คงไม่ใช่อะไรที่จะดีเท่าไหร่ เพราะมันเกิดจากการระเบิดอย่างแรง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเชื่อมโยงกับระเบิดนิวเคลียร์
เมฆ ตามชื่อ คือ เกิดขึ้นในช่วงกลางคืนแต่เรืองแสง ซึ่งเกิดที่บริเวณแถวๆใกล้ๆขั้วโลกโดยแสงอาทิตย์จากอีกฟากส่องมาปะทะกับเมฆ จึงเห็นเหมือนกับเรืองแสงได้
อันดับ 5 Cirrus Kelvin-Helmholtz
เมฆม้วนเป็นเกลียว โอกาสเกิดขึ้นยากมาก และเกิดขึ้นเป็นเวลา 2-3 นาที แล้วจากนั้นก็เละ เรียกว่า เป็นความบังเอิ๊ญบังเอิญจริงๆ
เกิดจากหลยองค์ประกอบ ทั้งลมและความชื้น ทำให้รวมกลุ่มกลายเป็นเลนส์ได้(แต่บางครั้งก็เหมือน UFO นะ หรือว่า.....! ?????)
เป็น เมฆฝนถึงขั้นที่จะเกิดพายุ แต่เป็นเมฆก้อนใหญ่บวกกับความดันอากาศ ความร้อนและเย็น ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของเมฆเป็นการม้วน เลยดูเหมือนคลื่นขนาดใหญ่
ลักษณะ คล้ายๆกับอันดับ 2 แต่อันนี้ไม่ได้เป็นการม้วน แต่เป็นชั้นๆเหมือนที่กำบัง(บ้างก็ว่าเหมือนลิ้นชัก)และจะมาเป็นแนวตั้ง นอกจากนี้มันยังคล้อยตัวต่ำจนน่ากลัว และเขาบอกว่าถ้าเข้าไปอยู่ในนั้นนี่ อย่างกับในหนังเลยครับ พยาุกระหน่ำรวมทั้งอุณหภูมิที่ร้อนมากๆและการหมุนของพายุที่น่าสะพรึงกลัว
เมฆ แบบนี้เกิดขึ้นได้ยาก ลักษณะมันก็เหมือนกับเอาดินน้ำมันมานวดๆๆๆๆๆๆ เลยออกมาเป็นเส้นยาวๆ และเผอิญว่าเส้นยาวๆจะแบ่งเป็นช่วงๆซะด้วย ทฤษฎีว่าด้วยเรื่องของการเกาะกลุ่ม
http://www.vcharkarn.com/varticle/39121
อันดับ 10 Altocumulus Castelanus
เมฆกลุ่มนี้คือจะเป็นพุ่มๆเหมือนแมงกะพรุน เกิดจากลมที่ชื้นๆจากกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม มาเจอกับอากาศแห้งๆ
อันดับ 9 Nacreous
เมฆ นี้เรียกได้ว่าเป็นไข่มุกแห่งเมฆาเลยทีเดียว เพราะสีนวลตาและหลากสี ทำให้เพลินตาดี ซึ่งจะพบได้ที่แถบใกล้ๆขั้วโลกเช่นสแกนดิเนเวียตอนช่วงหน้าหนาว เวลาเย็นๆที่แสงอาทิตย์ส่องผ่าน เป็นเวลา 2 ชั่วโมงเท่านั้นที่เราจะเห็นแบบนี้
อันดับ 8 Mammatus Clouds
เมฆ ลักษณะแบบเป็นกระเปาะยื่นลงมา คนทั่วไปมักจะนึกว่าเดี๋ยวจะมีพายุเข้ามารึเปล่าหว่า จริงๆแล้ว เมฆนีไม่ใช่สัญญาณเตือนอันตรายแต่อย่างใด แต่มักเกิดขึ้นหลังจากที่พายุทอร์นาโดพ้นผ่านไปแล้วต่างหากล่ะ
อันดับ 7 Mushroom Clouds
เมฆแบบนี้คงไม่ใช่อะไรที่จะดีเท่าไหร่ เพราะมันเกิดจากการระเบิดอย่างแรง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเชื่อมโยงกับระเบิดนิวเคลียร์
อันดับ 6 Noctilucent Clouds
เมฆ ตามชื่อ คือ เกิดขึ้นในช่วงกลางคืนแต่เรืองแสง ซึ่งเกิดที่บริเวณแถวๆใกล้ๆขั้วโลกโดยแสงอาทิตย์จากอีกฟากส่องมาปะทะกับเมฆ จึงเห็นเหมือนกับเรืองแสงได้
อันดับ 5 Cirrus Kelvin-Helmholtz
เมฆม้วนเป็นเกลียว โอกาสเกิดขึ้นยากมาก และเกิดขึ้นเป็นเวลา 2-3 นาที แล้วจากนั้นก็เละ เรียกว่า เป็นความบังเอิ๊ญบังเอิญจริงๆ
อันดับ 4 Lenticular Clouds
เกิดจากหลยองค์ประกอบ ทั้งลมและความชื้น ทำให้รวมกลุ่มกลายเป็นเลนส์ได้(แต่บางครั้งก็เหมือน UFO นะ หรือว่า.....! ?????)
อันดับ 3 Roll Clouds
เป็น เมฆฝนถึงขั้นที่จะเกิดพายุ แต่เป็นเมฆก้อนใหญ่บวกกับความดันอากาศ ความร้อนและเย็น ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของเมฆเป็นการม้วน เลยดูเหมือนคลื่นขนาดใหญ่
อันดับ 2 Shelf Clouds
ลักษณะ คล้ายๆกับอันดับ 2 แต่อันนี้ไม่ได้เป็นการม้วน แต่เป็นชั้นๆเหมือนที่กำบัง(บ้างก็ว่าเหมือนลิ้นชัก)และจะมาเป็นแนวตั้ง นอกจากนี้มันยังคล้อยตัวต่ำจนน่ากลัว และเขาบอกว่าถ้าเข้าไปอยู่ในนั้นนี่ อย่างกับในหนังเลยครับ พยาุกระหน่ำรวมทั้งอุณหภูมิที่ร้อนมากๆและการหมุนของพายุที่น่าสะพรึงกลัว
อันดับ 1 Stratocumulus Clouds
เมฆ แบบนี้เกิดขึ้นได้ยาก ลักษณะมันก็เหมือนกับเอาดินน้ำมันมานวดๆๆๆๆๆๆ เลยออกมาเป็นเส้นยาวๆ และเผอิญว่าเส้นยาวๆจะแบ่งเป็นช่วงๆซะด้วย ทฤษฎีว่าด้วยเรื่องของการเกาะกลุ่ม
http://www.vcharkarn.com/varticle/39121
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)