ดาวเทียม IKONOS
บริษัท Space Imaging ได้สร้างประวัติศาสตร์ให้แก่วงการสำรวจระยะไกล เมื่อส่งดาวเทียม IKONOS ซึ่งเป็นดาวเทียมรายละเอียดสูงเชิงพาณิชย์ดวงแรกของโลกขึ้นสู่อวกาศด้วยกระสวยอวกาศ Athena II ณ ฐานทัพอากาศ แวนเดนเบริ์ก (Vandenberg) ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อ วันที่ 24 กันยายน 1999 ดาวเทียม IKONOS ออกแบบและสร้างโดยบริษัท Lockheed Martin นอกจากนี้ ยังมีองค์กรต่างๆ เข้าร่วมทุนด้วย ได้แก่ บริษัท Lockheed Martin Corperation, บริษัท Raytheon Company, บริษัท Mitsubishi Corperation แห่งประเทศญี่ปุ่น, บริษัท Van Der Horst Ltd. แห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์, บริษัท Hyundai Space & Aircraft แห่งสาธารณรัฐเกาหลี, สหพันธ์ Remote Sensing แห่งทวีปยุโรป, บริษัท Swedish Space Corperation, และบริษัท Loxley Public Company Ltd. แห่งประเทศไทยคำว่า IKONOS มีที่มาจากภาษากรีกซึ่งมีความหมายว่า “ภาพ” ภาพดาวเทียมที่มีรายละเอียด และความถูกต้องสูงนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับงานด้านต่างๆ อาทิเช่น การทำแผนที่ การเกษตรกรรม และ การวางผังเมือง ภาพจากดาวเทียม IKONOS จึงตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้เป็นอย่างดี IKONOS เป็นดาวเทียมรายละเอียดสูงดวงแรกที่สามารถเก็บข้อมูลโดยมีความละเอียดของจุดภาพ 0.8 - 1 เมตร ในลักษณะของภาพขาว-ดำ (Panchromatic) ได้พร้อมกับเก็บข้อมูลให้มีความละเอียดของจุดภาพ 4 เมตรในลักษณะของภาพสีแบบหลายช่วงคลื่น (Multispectral) เนื่องจากกล้องบันทึกภาพซึ่งออกแบบโดยบริษัทโกดักที่ติดตั้งบนดาวเทียมสามารถจำแนกวัตถุต่างๆ บนผิวโลกซึ่งมีขนาดเล็กได้ถึง 0.8 - 1 เมตร
ดาวเทียม IKONOS ถูกออกแบบให้โคจรด้วยความสูง 680 กิโลเมตรจากพื้นโลก ด้วยความเร็วประมาณ 7 กิโลเมตรต่อวินาที และมีวงโคจรที่สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun-Synchronous Orbit) โดยใช้ระยะเวลา 98 นาทีในการโคจรรอบโลก 1 รอบ มีรอบการโคจรทั้งหมด 14 รอบต่อวัน และมีแนวโคจรซ้ำผ่านลองจิจูดเดิมในช่วงเวลาเดียวกันของทุกวัน คือประมาณ 10.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น จึงทำให้ดาวเทียม IKONOS สามารถบันทึกภาพโดยมีความละเอียดเท่ากับ 0.8 - 1 เมตร ณ พื้นที่เดียวกันได้ในทุกๆ 2-3 วัน โดย สามารถบันทึกข้อมูลภาพได้ในรัศมี 2,300 กิโลเมตรจากสถานีรับสัญญานภาคพื้นดิน โดยพื้นที่ที่เล็กที่สุดที่ดาวเทียมสามารถเก็บข้อมูลได้มีขนาด 100 ตารางกิโลเมตร (10 กม. x 10 กม.) และพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดมีขนาดประมาณ 10,000 ตารางกิโลเมตร
http://www.sisea.co.th/ikonos/satellite_th.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น